ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลของคนงานจัดการสิ่งปฏิกูลในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การจัดการสิ่งปฏิกูล, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลของคนงานจัดการสิ่งปฏิกูลและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลของคนงานจัดการสิ่งปฏิกูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนงานจัดการสิ่งปฏิกูลในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson Correlation
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 80.3 จบระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 48.7 เป็นลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 72.4 มีระยะเวลาในการทำงาน 6-10 ปี ร้อยละ 43.3 มีความรู้ด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100.0 มีระดับทัศนคติอยู่ในระดับดี (=2.97, S.D.= ±0.11) ร้อยละ 100.0 และพฤติกรรมด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลอยู่ในระดับดี (
=2.76, S.D.= ±0.22) ร้อยละ 100.0 และความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
References
กรมอนามัย. (2557, 8 สิงหาคม). รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประเทศไทย ปี 2557. สืบค้นจาก http://203.157.71.148/hpc6/planning/รายงานการสำรวจด้านสุขภาพ/สถานการณ์การอนามัยสิ่งแวดล้อม%202557.pdf
พัฒนา มูลพฤกษ์. (2550). อนามัยสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
พีรนาฏ คิดดี, อานุช แก้ววงศ์ และ สุดสาคร พุกงาน. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย ของประชาชนในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง (รายงานการวิจัย). สงขลา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มนู ดลจิตต์. (2550). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย (รายงานการศึกษารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สมพงษ์ แก้วประยูร. (2558). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
สิชล เหมือนเลื่อน. (2550). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยระดับครัวเรือนของประชาชนในตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สุมัทนา กลางคาร และ วรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 6) มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรวรรณ ปิ ลันธน์โอวาท. (2549). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: 47จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Pham-Duc, P., Nguyen-Viet, H., Hattendorf, J., Phung-Dac, C., Zurbrugg, C., Zinsstag, J. & Odermatt, P.. (2013). Ascaris lumbricoides and Trichuris trichiura infections associated with wastewater and human excreta use in agriculture in Vietnam. Journal of Parasitology International, 62(2), 172-180.
Pham-Duc, P., Nguyen-Viet, H., Hattendorf, J., Phung-Dac, C., Zurbrugg, C., Zinsstag, J. & Odermatt, P.. (2014). Diarrhoeal diseases among adult population in an agricultural community Hanam province, Vietnam, with high wastewater and excreta re-use. BMC Public Health, 14, 978.
Lam, S., Nguyen-Viet, H., Tuyet-Hanh, T. T., Nguyen-Mai, H. & Harper, S.. (2015). Evidence for Public Health Risks of Wastewater and Excreta Management Practices in Southeast Asia: A Scoping Review. International Journal of Environmental Research and Public Health, 12(10), 12863–12885.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้