ผลกระทบของนโยบายการเงินและการคลังที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้แบบจำลอง VAR

ผู้แต่ง

  • นิกร น้อยพรม อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • จิราวดี กำยาน อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบบพลวัต และความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  โดยการประยุกต์แบบจำลอง  VAR (Vector Autoregressive)  ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิ แบบอนุกรมเวลาตั้งแต่ปี 2538 - 2561 จำนวน 24 ปี ประกอบด้วย ตัวแปรเศรษฐกิจเป้าหมาย ได้แก่ ด้านรายได้  ด้านเงินเฟ้อ ด้านการค้าระหว่างประเทศ และตัวแปรนโยบาย ได้แก่ นโยบายการเงิน  นโยบายการคลัง  นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน  โดยทำการทดสอบความนิ่งของข้อมูล (Unit root test) ทดสอบและเลือกความล่าช้า (Lag) ที่เหมาะสม ทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว (Cointegration test) และการประเมินความสัมพันธ์ของนโยบายการเงินและการคลังที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยการวิเคราะห์ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการแปรปรวน (Impulse Response Function: IRF) และการทดสอบแยกส่วนประกอบความแปรปรวน (Variance decomposition)

ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปีปัจจุบันนั้น ได้รับผลกระทบทางตรงจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกใน 1 ปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 และถ้ามูลค่าการใช้จ่ายภาครัฐภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน 1 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐเฉลี่ยใน 2 ปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 1 จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.34

ในขณะที่การประเมินความสัมพันธ์ของนโยบายการเงินและการคลังโดยการวิเคราะห์แยกองค์ประกอบของผลกระทบตามค่าความแปรปรวน พบว่า มูลค่าการส่งออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมมากที่สุด รองลงมาคือ อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และการใช้จ่ายภาครัฐ  และหากต้องการเปรียบเทียบผลของนโยบายการเงินและการคลัง เพื่อจะได้นำมาพิจารณาส่งเสริมและสนับสนุนการใช้นโยบายดังกล่าว พบว่า ค่าใช้จ่ายภาครัฐมีผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ร้อยละ 1.34 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารมีผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม ร้อยละ 0.75 ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การดำเนินนโยบายการคลังจะส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

References

กาญจนา แก้วมณี. (2550). อัตราแลกเปลี่ยนกับการส่งออกผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับไปประเทศสหรัฐอเมริกา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ต่อพงษ์ บวรพงษ์กุล และ ธาตรี จันทรโคลิการ. (2554). ผลกระทบของนโยบายการเงินการคลังที่มีต่อระบบเศรษฐกิจมหภาค โดยใช้แบบจำลอง VARs. สืบค้นจาก http://www.tpso.moc.go.th/th/node/463.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2553). รายงานเศรษฐกิจและการเงิน ปี 2552. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AnnualReport/Pages/default.aspx.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). มูลค่าสินค้าส่งออกและนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ในรูปบาท). สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=903&language=TH

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=223&language=TH.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=223&language=TH.

ธีรวุฒิ ศรีพินิจ. (2560). ผลกระทบของนโยบายการเงินต่อระบบเศรษฐกิจรายภาค และระดับราคาในระดับภูมิภาคของประเทศไทย. ใน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รายงานการสัมมนาทางวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2560 ครั้งที่ 39, ปทุมธานี.

นิกร น้อยพรม. (2562). ผลกระทบของการลงทุนภาครัฐต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(47), 41-52.

รณชิต สมมิตร. (2550). บทบาทของการใช้จ่ายภาครัฐบาล ต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด อนุกรมปัจจุบันแบบปริมาณลูกโซ่ อ้างอิงปี พ.ศ. 2538-2559. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=gross_regional.

สำนักดัชนีเศรษฐกิจการพาณิชย์. (2561). ดัชนีราคาผู้บริโภคระดับจังหวัด. สืบค้นจาก http://www.price.moc.go.th/price/cpi_province/index_new.asp.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

น้อยพรม น., & กำยาน จ. (2022). ผลกระทบของนโยบายการเงินและการคลังที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้แบบจำลอง VAR. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(62), 11–21. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/254898