แนวทางการจัดการโลจิสติกส์สีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, โลจิสติกส์สีเขียว, การพัฒนาที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการโลจิสติกส์สีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเปรียบเทียบความแตกต่างขององค์ประกอบการจัดการโลจิสติกส์สีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารองค์กรในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี จำนวน 314 ราย ผลการวิจัย พบว่า ด้านผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่สุด ได้แก่ กระตุ้นบุคลากรให้มองเห็นและตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการเชิงบูรณาการ ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่สุด ได้แก่ มีการกำหนดข้อปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ส่งมอบ ด้านการประสานความร่วมมือในองค์กร ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่สุด ได้แก่ จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเพื่อกระตุ้นความตระหนักในสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม ปัจจัยย่อยที่สำคัญที่สุด ได้แก่ มีการนำระบบการติดตามรถขนส่งไม่ให้ออกนอกเส้นทาง ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการโลจิสติกส์สีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรีโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ณฏฐาระวี พงศ์กระพันธุ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการกรีนโลจิสติกส์เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มของประเทศไทยในอนาคต (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยะลา) สืบค้นจาก https://wb.yru.ac.th/bitstream/yru/6244/1/ณฏฐาระวี%20พงศ์กระพันธุ์.pdf
ทีดีอาไอ. (2565). พลิกฟื้นผืนป่าด้วยพันธบัตรป่าไม้. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ. ลิฟวิ่ง จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยเล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์
สวัจน์ ด่านสมบูรณ์ และ ธีวินท์ นฤนาท. (2563). การจัดการโลจิสติกส์สีเขียวและการจัดการโซ่อุปทานที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(1), 125-145.
สุธิดา ทับทิมศรี. (2558). การบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 (น. 874 - 880). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.
Asian Productivity Organization. (2008). Green Productivity and Green Supply Chain Manual. Tokyo: Asian Productivity Organization.
Chang, B-Y, Kenzhekhanuly, Y. and Park, B. (2013). A Study on Determinants of Green Supply Chain Management Practice. International Journal of Control and Automation, 6(3), 199-208.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed). New York: Happer and Row.
Department of Environmental Quality Promotion. (2022). Sustainable Urban Environment Management. Retrieved from http://www.tei.or.th/file/library/Sustainable_Environmental_Management_2022_70.pdf
Economic Intelligence Center, (2022). Sticking to Transporting Parcels 2022. Retrieved from http://www.Scbeic.com/th/detail/file/product/8322/gart575wnp/EIC-Note_Parcel-delivery_2022 0610.pdf
McKinnon, AC. (2010). Green Logistics: Improving the Environment Sustainability of Logistics: eBook Collection. EBSCO Publishing.
Pornprapunt, C., Pohnpattanapaisankul, K. and Wangvanichpan, S. (2022). Bank of Thailand and the problem of thoroughness and sustainability. Retrieved from https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_5Sep2022.pdf
Thailand Greenhouse Gas Management Organization. (2021). Massive damage from disasters linked to climate change. Retrieved from http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rded). New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้