ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของเทศบาลในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ, เทศบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของเทศบาลในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานพัสดุของเทศบาลเขตอำเภอเมืองอุดรธานี และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานพัสดุของเทศบาลในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ พนักงานเทศบาลเขตอำเภอเมืองอุดรธานี จำนวน 2,056 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของเทศบาลเขตอำเภอเมืองอุดรธานีในภาพรวมมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการบริหารงานพัสดุของเทศบาลเขตอำเภอเมืองอุดรธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการบริหารองค์กร ด้านการกำหนดความต้องการ ด้านบุคลากร และด้านการวางแผน ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานพัสดุของเทศบาลเขตอำเภอเมืองอุดรธานี ได้แก่ ด้านการบริหารองค์กร ด้านการกำหนดความต้องการ ด้านการวางแผน ด้านบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนา คือ การสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน กำหนดเรื่องการจัดหาพัสดุที่เหมาะสม วางแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างที่ตรงความต้องการขององค์กร ส่งเสริมทักษะความรู้ด้านงานพัสดุให้กับผู้ปฏิบัติงาน
References
กระทรวงการคลัง. (2560). พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก http://www.gprocurement.go.th.
กาญจนา ทองตีบ, ภัทธิยา สมดวง, และ พิจิตตรา ทิมกุล. (2557). รายงานการวิจัยเรื่อง สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานพัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (รายงานการวิจัย). สงขลา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
กาญจนา พุ่มพวง. (2557). ความพึงพอใจต่อการให้บริการของกลุ่มงานพัสดุ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เฉลิมชัย อุทการ. (2563). ปัจจัยของการบริหารงานพัสดุที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของนักวิชาการพัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 55-65.
ชุติมา สีสวัสดิ์. (2559). สภาพปัญหาการใช้บริการงานพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 1(1), 44 – 53.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ธิดารัตน์ บุตรราช และ สุปรีดิ์ พินิจสุนทร. (2558). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการงานพัสดุของหน่วยงานภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานการประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558 วันที่ 19-20 กันยายน 2558 วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น/วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.). (2559). รายงานประจำปี 2559 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2535). ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535. สืบค้นจาก https://www.thakhonyang.go.th/userfile/info/info_36_1124531845.pdf.
สุทธีรา นัยติ๊บ และ สมชาย บุญศิริเภสัช. (2558). สภาพปัญหาและ แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดแพร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Likert, R. A. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้