ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยของเกษตรกรในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การตัดสินใจซื้อ, ปุ๋ย, เกษตรกรบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยของเกษตรกรในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methodology) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยของเกษตรกรในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยของเกษตรกรในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อปี ประสบการณ์ในการเพาะปลูก และขนาดพื้นที่เพาะปลูก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาในครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ซื้อปุ๋ยเพื่อนำไปใช้กับพืชทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำนวน 392 ราย โดยการกำหนดขนาดโดยใช้สูตร Yamane ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling method) ซึ่งประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบสถิติ t-test และ F-test (One-way ANOVA) ตามวิธีของ LSD
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านการส่งเสริมการตลาด รองลงมา คือ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านพนักงาน และด้านราคา ตามลำดับ 2) เกษตรการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการเพาะปลูก แตกต่างกัน มีปัจจัยในการตัดสินใจซื้อปุ๋ย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเกษตรกร ที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อปี และขนาดพื้นที่เพาะปลูก พบว่า ไม่แตกต่างกัน
References
ชูชัย สมิทธิไกร. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยรัตน์ ถึงสาคร และ พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตจังหวัดปทุมธานี. รายงานการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปีการศึกษา 2563. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
ปารวีณ์ โรจนวิธาน และ จักริน วชิรเมธิน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกร ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(73), 125 - 137.
พจณีย์ ภักดีวิสัย. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าเคมีเกษตรของผู้บริโภคภายในร้านเขายาวการเกษตร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
พรรณธวรรณ บุตรดีสุวรรณ. (2566). การจัดการธุรกิจเกษตร. เลย: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
เรวัตตะ พินิจไพฑูรย์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกร อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สมวงษ์ พงษ์สถาพร. (2546). Service Marketing. กรุงเทพฯ: UNT REPUBIC.
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเลย. (2566). ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านการเกษตรอำเภอเมืองเลย. เลย: กลุ่มสารสนเทศการเกษตรสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเลย.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเลย. (2562). พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเลย. เลย: กลุ่มสารสนเทศการเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเลย.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 จังหวัดอุดรธานี. (2566). รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรจังหวัดเลย ประจำปี 2566-2567. อุดรธานี: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2661). ภาคการเกษตรของประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.depa.or.th
Kotler, P. (1997). Marketing Management : Analysis, Planning, Implementation and Control (14th Global ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hill.
Kotler, P. (2004). Marketing Management (11th ed.) Upper Saddle River. New Jersey: Prentice-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Edition). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้