การเล่าเรื่องและการสื่อความหมายของภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแส
Keywords:
การเล่าเรื่องการสื่อความหมายภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแส, narrative interpretation underground (independent) horror filmsAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องและการสื่อความหมายของของ ภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแสและศึกษาความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับความเหมาะสมของภาพยนตร์ สยองขวัญนอกกระแสกับสังคมไทยประชากรในงานวิจัย คือ 1) ภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแสรูปแบบเนื้อหาท้าทาย สังคมและขัดแย้งกับหลักจริยธรรม และ 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแส กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแสรูปแบบเนื้อหาท้าทายสังคมและขัดแย้งกับหลักจริยธรรม จำนวน 3 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ตาราง Coding Sheet เพื่อการบันทึกข้อมูลเบื้องต้นใช้ในการ วิเคราะห์สื่อวีดีทัศน์ภาพยนตร์ 2) ไฟล์เสียงบันทึกจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สร้างภาพยนตร์ได้ใช้องค์ประกอบต่างๆของการเล่าเรื่องเพื่อการน าเสนอแก่นความคิด หลักหรือประเด็นหลักของภาพยนตร์ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันคือ “ความเลวร้ายของสังคมและความเลวร้าย ภายในจิตใจของมนุษย์” เป็นการเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารและนำเสนอเรื่องราวความน่ากลัวในมุมมืดของสังคมและ ความเลวร้ายภายในจิตใจมนุษย์การสื่อความหมายของภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแสทั้ง 3 เรื่องผู้สร้างภาพยนตร์ ได้ใช้องค์ประกอบต่างๆของการสื่อความหมายด้วยภาพและการสื่อความหมายด้วยเสียงเพื่อให้ผู้ชมภาพยนตร์เกิด ความเข้าใจและสามารถรับรู้เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ได้ เป็นการใช้ภาพและเสียงในการสื่อ ความหมายเพื่อให้ผู้ชมภาพยนตร์มีอารมณ์คล้อยตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ นอกจากนี้ผู้สร้าง ภาพยนตร์ยังได้องค์ประกอบต่างๆของการสื่อความหมายเชิงสัญญะวิทยาเพื่อการสื่อความหมายแฝงให้ผู้ชม ภาพยนตร์ได้มองเห็นและรับรู้ถึงปัญหาความรุนแรงในรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม และได้รับรู้ถึงด้านมืดหรือมุม มืดในสังคมที่มีความเลวร้ายและมีความน่ากลัวผลการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับความเหมาะสมของ ภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแสกับสังคมไทย พบว่า ภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแสเป็นภาพยนตร์ที่มีภาพและ เนื้อหาหรือบทภาพยนตร์ที่มีความรุนแรงอยู่ในระดับสูงมาก เพราะเป็นภาพยนตร์ที่ผู้สร้างภาพยนตร์สร้างขึ้นมาเพื่อ กลุ่มผู้ชมเฉพาะกลุ่มเท่านั้นภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแสจึงเป็นสื่อภาพยนตร์ที่ไม่มีความเหมาะสมที่จะได้รับการ เผยแพร่ในวงกว้างของสังคมไทย เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเคร่งครัดกฎระเบียบทางศีลธรรมและ กฎระเบียบทางจริยธรรมมาก
Narrative and Interpretation of Underground (Independent) Horror Films
This research is a qualitative study aiming to study the narrative and interpretation of independent horror films; and to study the opinions of the key informants about its suitability of the current horror films and Thai Society. The populations of the research include 1) independent horror films with controversial contents and conflicts with ethical principles; and 2) the key informants who are knowledgeable about the film. The samples were 1) three independent horror films with controversial contents and conflicts with ethical principles. The tools used in this research were 1) Coding Sheet Table to record the primary data used for analyzing media 2) audio recordings from the in-depth interviews.The research found that the filmmakers have used various elements of storytelling. In order to present the core idea or the main point of the film, which looks similar that is “the evils of society and the worst in the human mind”. The films communicate and present the horrors in the dark corners of society and the worst in the human mind. Regarding the interpretation of the current three horror films, the filmmakers use different elements of visual interpretation and meaningful voice in order to allow the audience to understand and recognize the stories or events in the movies. The use of images and sound to convey to the audience, the film is amenable mood with events that happened in the films. In addition, filmmakers used various elements to interpret semiotic analysis to convey the connotation that the movies were visible and aware of the problems of violence in various forms that occur in society and be aware of the dark side of society. The interviews with key informants about the suitability of the current horror films and Thai Society found that the current horror films contain highly violent contents because the films are made for a niche group of people only. Independent horror movies, then, are not suitable to be publicized in Thai society because Thai society is highly strict on moral and ethical rules.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้