การจัดการพื้นที่ป่าอย่างมีส่วนร่วม : ข้อเสนอภายใต้บริบทองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร

Authors

  • ภัชราภรณ์ สาคำ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Keywords:

การจัดการป่าชุมชน, พื้นที่ต้นน้ำ, ความหลากหลายทางชีวภาพ, การมีส่วนร่วม, community forest management, watershed forest, biodiversity, participation

Abstract

บทความนี้มุ่งเพื่อวิเคราะห์แนวทางการจัดการป่าอย่างมีส่วนร่วม ภายใต้บริบทองค์ความรู้เพื่อพัฒนาความ หลากหลายทางชีวภาพในเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการ คัดเลือกพื้นที่แบบเจาะจง จำนวน 2 พื้นที่กระจายตัวบริเวณ "ลำน้ำพุง" พบว่า ชุมชนมีพื้นที่ป่าชุมชนทั้งหมด ประมาณ 6,212 ไร่ ชุมชนมีดูแลและใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ทั้งในแง่ของการอนุรักษ์เป็นแหล่ง พื้นที่ต้นน้ำ แหล่งอาหารและสมุนไพร แหล่งทำเลเลี้ยงสัตว์ การใช้เนื้อไม้และกิจกรรมเพื่อสันทนาการ แม้ว่าพื้นที่นั้นๆ อยู่ในเขตการจัดการพื้นที่ของรัฐก็ตาม โดยเฉพาะพื้นที่ป่าชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (เขตพื้นที่ป่า เสื่อมโทรมโซน C,E) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2544 เป็นต้นมา หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือกรมป่าไม้เข้ามาดำเนินการร่วมกับ ชาวบ้านภายใต้โครงการจัดตั้งป่าชุมชนตามนโยบายต้องการเพิ่มพื้นที่ป่า หรือการจัดการป่าชุมชนสมัยใหม่เพียงเท่านั้น ส่งผลทำให้พลังทางสังคมหรือองค์กรชุมชนในระดับพื้นที่ด้านการจัดการป่าไม้ยังไม่เกิดขึ้นเท่าที่ควร การจัดการป่าไม้จึงมีลักษณะแบบหลวมๆ เนื่องจากชุมชนยังขาดความเข้าใจในกระบวนการจัดตั้งป่าชุมชนอย่างแท้จริง และชุมชนขาดความเชื่อมั่นการเข้าถึงสิทธิ์ในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามชุมชนยังมีความพยายามผนึกกำลังให้เกิด กิจกรรมในการจัดการป่าร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศอันเป็น แหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของชุมชน อาทิเช่น การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าอย่างระมัดระวัง การทำระบบ วนเกษตรในพื้นที่ป่าหัวไร่ปลายนาหรือการปลูกผักพื้นถิ่นหายากในป่าวัฒนธรรม เป็นต้น ชุมชนยังต้องการให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษาหรือนักวิชาการที่สนใจเข้ามาส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และแนวทางในจัดตั้งป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการยอมรับและรองรับสิทธิ์ในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรมและ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การจัดการภูมินิเวศป่าไม้ของชุมชนอย่างยั่งยืน

 

Participatory forest management: Recommendations from the context of knowledge for biodiversity development in Nong Han watershed forest, Sakhonakorn province

This article aims to provide a guide to participatory forest management for the case of biodiversity development in Nong Han watershed forest, Sakhonakorn province. The study is a qualitative research, selectively covering 2 areas in ‘Nam Pung’ river basin. The findings suggest that the community forest covering 6,212 rai has been protected and exploited by the local people for several purposes such as protecting upstream areas, local food and herb source, raising livestock, timber source, and recreations. The area is managed by the government-owned forest. Most of the community forest is in National Forest area (degraded forest C and E zone) Since 2001, the Royal Forest Department officers have established the community forest together with the local people, according to the new policy to increase and manage the forest with new concept. However, there was no social movement from the community. The forest management was run loosely, due to the lack of understanding in the process and their future rights. However, the communities still put their effort in forest management activities to conserve the biodiversity and ecosystem as their food sources and habitats. For example, they used the forest carfully. They performed agroforestry in their fields. They grow rare local herbs in the ‚cutural forest.‛ The communities also need technical supports from related organizations, academic institutes, and experts to guide them through establishing participatory community forest. This will bring about the acceptance and recognition of their future rights with clearity and concreteness, as well as the sustainable forest landscape management for local communities.

Downloads

How to Cite

สาคำ ภ. (2017). การจัดการพื้นที่ป่าอย่างมีส่วนร่วม : ข้อเสนอภายใต้บริบทองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 11(Suppl), 41–50. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/79303