ศักยภาพทางเศรษฐกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
Keywords:
ศักยภาพ, เศรษฐกิจชุมชน, ชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา, potential, community economy, communities at the border of Thailand and CambodiaAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาศักยภาพทางเศรษฐกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน กลุ่มอาชีพ สมาชิกกลุ่มอาชีพ องค์กรชุมชน สมาชิกองค์กรชุมชน และประชาชน จำนวน 50 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลศึกษาพบว่า ศักยภาพทางเศรษฐกิจชุมชนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน พร้อมทั้งเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจชุมชนมีความเข็มแข็งและสามารถดำรองอยู่รอดในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน ด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจชุมชนที่สำคัญประกอบด้วย 1) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ อันได้แก่ ที่ดินทากินของตนเอง ทรัพยากรป่าไม้ และแหล่งน้าที่อุดมสมบรูณ์ ที่สามารถทาการผลิตได้ตลอดทั้งปี 2) การปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นการเกษตรผสมผสาน โดยมีความพอเพียงเป็นพื้นฐานในการผลิต 3) การจัดการแรงงานให้ความสำคัญกับการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 4) การตลาดที่มั่นคงในการกระจายผลผลิต 5) ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ยึดมั่นผูกพันอย่างเหนียวแน่น 6) บทบาทของผู้นำที่เข้มแข็ง และ 7) องค์กรชุมชนพึ่งตนเองที่มีความมั่นคง อันเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้ครัวเรือนและชุมชนยังคงรักษาวิถีระบบเศรษฐกิจของตนให้ดำรงอยู่รอดในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในสังคมปัจจุบัน พร้อมทั้งชุมชนสามารถพึ่งตนเองและกันเองได้อย่างเข้มแข็งด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจของชุมชน
Community economic potential at Thai-Cambodian border: A case study of Ban Charok community at Dan sub-district, Kabchoeng district, Surin province
The objective of this qualitative research was to study the community economic potential at the border of Thailand and Cambodia. Fifty samples including community heads, professional groups, members of local organizations, and local people were purposively selected. The research tools were interviews and content analysis technique.
The study found that the community economic potential is the driving force for local economic activities, strengthens local economy to survive in current situation of social changes. The community economic potentials comprise 7 components: (1) natural resources such as land, forest and water resources that support year-round production, (2) converting to integrated agriculture based on self-sufficient production, (3) inter-dependent labor management, (4) sustainable market to distribute local produces, (5) tightly tied social and cultural capitals, (6) strong leadership (7) self-reliant and secure local organization. These factors are crucial for the community to protect their economy in the harshly changing situations and to strengthen to community’s self-reliance and interdependence with their local economic potentials.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้