การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 – 3 ปี โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Authors

  • ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดบุรีรัมย์

Keywords:

การพัฒนารูปแบบ, พัฒนาการเด็กอายุ 1-3 ปี, ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม, the development on model, 1-3 year olds child development, the participation of family and community

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1-3 ปี โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ศึกษาผลและเงื่อนไขปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1-3 ปี โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน พื้นที่ศึกษา คือ หมู่ที่ 4 บ้านยาง ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มแกนนาในการค้นหารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1-3 ปี ได้จากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 20 คน และ กลุ่มเด็กอายุ 1-3 ปี และครอบครัว จำนวน 40 ครอบครัว รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า การสร้างรูปแบบมี 6 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างบรรยากาศการยอมรับของชุมชนและคัดเลือกแกนนำชุมชน 2) การสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงานร่วมกัน 3) การระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา สำรวจความต้องการและหาแนวทางร่วมกัน 4) การวางแผนการดำเนินงาน 5) การดำเนินงานตามแผนงาน และ 6) สรุปประเมินผลรูปแบบ ผลจากกระบวนการส่งผลให้ครอบครัวเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก มีระดับความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในระดับสูง มีการปฏิบัติในระดับดี และเด็กอายุ 1-3 ปี ร้อยละ 92.50 มีพัฒนาการโดยรวมสมวัย เงื่อนไขและปัจจัยสนับสนุนการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1–3 ปี โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนครั้งนี้ คือ ภาวะผู้นำของกลุ่มแกนนำ วิสัยทัศน์ของชุมชน ความสนใจและความร่วมมือของชุมชน และกระบวนการวิจัยที่เน้นการมีส่วนร่วม เงื่อนไขและปัจจัยอุปสรรค คือ ภาระงานของกลุ่มแกนนำ และการจัดสรรงบประมาณ

 

The development on model for the promotion of 1 – 3 year old child development through the participation of family and community : A case study of Tambon Banyang, Amphoe Meuang, Changwat Burirum

This action research was aimed (1) to study a promotional model of 1-3-year-old child development with family and community participation and (2) to find its results and constraints. The study covered the area of Mu 4, Banyang, Tambon Banyang, Amphoe Meuang, Burirum. There were 2 sample groups: 20 community leaders selected purposively, and 40 children aged between 1- 3 years and their family members. The questionnaires, observations, focus groups, and interviews were used for data collection. Percentages, arithmetic means, standard deviations, and a content analysis were used for data analysis.

It was found that there were 6 steps in model building: (1) acceptance of the community and selecting its leader; (2) community recognition and collaborating attitude; (4) operation plans; (5) performing as planed; (6) evaluation and conclusion. The results yielded that the families recognized the significance of their participation in promoting 1 – 3 year old child development and acted accordingly. They gained knowledge of the promotion and conform well. 92.50 % of the 1-3 year old child had proper development for their ages. The supporting factors include leadership of the community leaders; the community visions, interest and collaboration; and the participatory research. The obstructive factors were the leaders’ other responsibilities, and budget allocation.

Downloads

How to Cite

ฤทธิ์แปลก ศ. (2017). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 – 3 ปี โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 11(Suppl), 99–109. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/79335