พฤติกรรม การสำเร็จประโยชน์และผลกระทบของการกู้ยืมเพื่อการอุปโภคบริโภค ต่อลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • ปราการ ละวิโล สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • บุญเสริม บุญเจริญผล สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

Keywords:

การสำเร็จประโยชน์จากการกู้ยืมเงิน, การกู้ยืมเพื่ออุปโภคบริโภค, ธนาคารพาณิชย์, fulfillment, consumption loans, commercial banks

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง พฤติกรรม การสำเร็จประโยชน์จากการกู้ยืมเงินเพื่อการอุปโภคบริโภค และความสามารถในการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยพิจารณาจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายว่าทำไมคนจึงยืมเงินแม้ว่าจะต้องรับภาระดอกเบี้ย และเพื่อแสดงว่าประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่จัดการหนี้ครัวเรือนเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างไร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จากการสำรวจโดยอาศัยความน่าจะเป็น ผู้กู้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค จำนวน 330 รายในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้สถิติพรรณนา และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ผู้กู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นลูกหนี้กลุ่มใหญ่ที่สุด ร้อยละ 55.19 ผู้กู้หนี้ประเภทนี้น้อยกว่าครึ่ง คือร้อยละ 40.92 ใช้เงินที่กู้ยืมมาอย่างมีเหตุผลเพื่อซื้อสินค้าและบริการที่จำเป็น ทั้งนี้การกู้ใหม่เพื่อใช้หนี้เดิมเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปในกลุ่มลูกหนี้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค และผู้กู้ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากการกู้ยืมเมื่อถึงเวลาชำระหนี้คืนแก่สถาบันการเงิน

 

Behavior, fulfillment and impact of consumption loans on customers of commercial banks in Chiang Mai province

The objectives of this study were to examine behavior, Fulfillment and impact of consumption loans on customers of commercial banks in Chiang Mai province based on the economics theory explaining why people borrow money even they had interest burden and to show how Chiang Mai people manage their family debt for consumption. Data were obtained by literation review and probability survey with sample size of 330 money borrowers for consumption loan in Chiang Mai. The results of this research revealed that respondents with bachelor’s degree and government officials were the largest loan borrowers, 55.19%, while, 40.92% used the loan reasonably for their necessary goods and service. Refinancing was generally practiced among money borrowers. Some borrowers got hardship from borrowing when repayment was due.

Downloads

How to Cite

ละวิโล ป., & บุญเจริญผล บ. (2017). พฤติกรรม การสำเร็จประโยชน์และผลกระทบของการกู้ยืมเพื่อการอุปโภคบริโภค ต่อลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดเชียงใหม่. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 11(37), 1–10. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/79410