พฤติกรรมการใช้และผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊คต่อการดาเนินชีวิตของนักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
Keywords:
พฤติกรรม, สื่อสังคมออนไลน์, เฟซบุ๊ค, ผลกระทบ, behaviors, online media, Facebook, effectsAbstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ค ต่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 386 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling)ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊คของนักศึกษา ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์มากกว่า 1 ประเภท เกือบทั้งหมดใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊ค รู้จักเฟซบุ๊คจากเพื่อนแนะนา และมีจำนวนเพื่อนในเฟซบุ๊ค 501 คนขึ้นไป ใช้เฟซบุ๊ค 3-4 ปี มีจำนวนบัญชีเฟซบุ๊ค 1 บัญชี และส่วนใหญ่ใช้งานอินเทอร์เน็ตจากหอพักโดยเชื่อมต่อเฟซบุ๊คผ่านโน๊ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค และไอแพด ใช้งานเฟซบุ๊คทุกวัน เฉลี่ย 1-3 ครั้ง/วัน แต่ละครั้งใช้เวลามากกว่า 4 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ใช้เฟซบุ๊ค ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 19:01 – 24:00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 13.01 – 19:00 น. วัตถุประสงค์หลักที่ใช้เฟซบุ๊คใช้เพื่อผ่อนคลาย และติดต่อสื่อสาร
ผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊คต่อนักศึกษาเรียงตามลาดับคือ ด้านสุขภาพ ด้านการดำเนินชีวิตประจำวันและด้านการศึกษาตามลำดับ โดยผลกระทบด้านสุขภาพพบว่ามีอาการปวดตา ปวดศรีษะ เมื่อยมือ ปวดไหล่ เวลาเล่นนาน ๆ ผลกระทบด้านการดำเนินชีวิตประจาวัน พบว่านักศึกษาเลือกใช้งานเฟซบุ๊คมากกว่าทากิจกรรมอื่นในช่วงเวลาว่าง ทำให้ทากิจกรรมอื่นน้อยลง มีโลกส่วนตัวสูง คุยกับคนในครอบครัวน้อยลง คนรอบข้างรู้สึกหงุดหงิด หวาดระแวง และเกิดการทะเลาะกันเนื่องจากความคิดเห็นไม่ตรงกัน และผลกระทบ ด้านการศึกษา พบว่านักศึกษาทาการบ้านและงานที่รับมอบหมายต่างๆ เสร็จช้า เนื่องจากใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการใช้งานเฟซบุ๊ค ผลกระทบที่ตามมาพบว่านักศึกษาไม่ส่งงาน ส่งงานช้า ขาดสมาธิในการเรียน เกรดตกในบางรายวิชา ขาดสมาธิในการทำงานและการอ่านหนังสือสอบ ขาดเรียน ใช้ภาษาไม่ถูกต้องใช้คำแสลงในยุคสมัยใหม่ และสะกดคำไม่ถูกต้องตามหลักภาษา
The Usage Behavior on Facebook Social Media Online and Their Effects on Students’ Life Style : A Case Study of Loei Rajabhat University
This mixed-methods research aimed to study Loei Rajabhat University students' behaviors in using Facebook social media and their effects on the students' life style. The sampling group consisted of 386 students selected by simple random sampling method.
The findings revealed that the students used more than one type of online social medias and, mostly, they used Facebook by invitation from friends. Each of them mostly held one Facebook account with more than 501 Facebook friends and the average Facebook networking experience of 3-4 years. Notebook, netbook, and IPad were the tools they mainly used to access into the networking service through the internet available in their dormitories. They accessed into Facebook networking on the average of 1-3 times daily and stayed online for over 4 hours a time. The access time was during 19.01-24.00 hrs. from Monday to Friday, and 13.01-19.00 hrs. during the weekends and holidays. The purposes in using Facebook were mainly for relaxation and communication.
The effects of online social media usage through Facebook included the students' health problems, their daily life, and their study, respectively. The effects on health were eye pain, headache, hand fatigue, and shoulder pain when they spent a long period of time using Facebook. The effects on their daily life showed that they did not want to go out and do activities with others, had their private zone, and did not talk much with the family members making the people around them become irritable. They also did not trust their lovers and had a fight because of different ideas and opinions. Regarding to the effects of using Facebook on the students' study, the results indicated that when the students had free time they preferred to be on Facebook networking rather than to do other activities; because most of their time was for Facebook, they always submitted their school assignments late. As a consequence, they paid less attention to their homework, school assignments, and studying, had no concentration on studying for the examinations, were always absent from classes, and adopted incorrect and inappropriate usage of language by using modern slang and incorrect spellings.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้