วิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนภายในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย
Keywords:
วิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, democratic citizenship, sub-district administrative organizationAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของวีถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านการรับรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิความเป็นพลเมืองกับระดับวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 400 ราย ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Multiple Regression Analysis)ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย
2. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับระดับวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.01 คือ ช่วงอายุ 40-60 ปีการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ การรับรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิความเป็นพลเมือง
3. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับระดับวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 คือ การศึกษาระดับประถมศึกษาอาชีพรับจ้างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ เพศหญิงอาชีพเกษตรกรรายได้ 12,001-20,000 บาท
4. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ระดับวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ อาชีพรับจ้าง รายได้ 0-6,000 บาท รายได้ 12,001-20,000 บาท และการรับรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิความเป็นพลเมืองและตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ระดับวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ เพศหญิงอาชีพข้าราชการโดยสามารถพยากรณ์ระดับวิถีพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้ร้อยละ 29 (R2= 0.289)
Democratic Citizenship of People in Sub-district Administrative Organization : A Case Study of Muang Sub-district Administrative Organization, Muang District, Loei province
The purposes of this research were 1) to study the level of democratic citizenship 2) to study the relationships between personal factors, the legal consciousness about civil rights factors, and the level of democratic citizenship 3) to find the equation for prediction. A sample of 400 cases was drawn from the constituency of Muang sub-district administrative organization, Muang district, Loei province using proportional stratified random sampling method. A rating scale questionaire was used as the study instrument for data collection. The data were analysed by using descriptive statistics, Pearson’s Correlation Coefficient Statistics and Step-Wise Multiple Regression Analysis.
The results of this research revealed that :
1. The overall level of democratic citizenship was at low level.
2. The positive factors related to level of democratic citizenship at significant level of .01 were age (40-60 years) ,education (diploma degree) , occupation (government officer and state enterprise employee) , and the legal consciousness about civil rights factors.
3. The negative factors related to level of democratic citizenship at significant level of .01 were education (primary school) and occupation (employee), and at significant level of .05 were sex (female), occupation(agriculturist) ,and income (12,001-20,000 bath).
4. The factors affecting level democratic citizenship at significant level of .01 were occupation (employee), income (0- 6,000 bath and 12,001-20,000 baht), and the legal consciousness about civil rights factors. Other factors affecting level democratic citizenship at .05 of significance were sex (female), occupation (government officer and state enterprise employee) which could predict at 29 percent (R2= 0.289 )
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้