การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณธรรมและจริยธรรมที่มีอยู่กับผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชน
Keywords:
คุณธรรมและจริยธรรมที่มีอยู่, ผลการปฏิบัติงาน, morality and ethics existing, work performanceAbstract
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมที่มีอยู่ของพนักงาน 2)เพื่อพยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานด้วยคุณธรรมและจริยธรรมที่มีอยู่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีพนักงาน บริษัท วัฒนไพศาลเอ็นยิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานของบริษัท รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 102 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนและสหสัมพันธ์ จากผลการวิจัยพบว่า คุณธรรมจริยธรรมที่มีอยู่ 3 ประการ ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรผลการปฏิบัติงานของพนักงานประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ ความมีสติสัมปชัญญะ ความมีวินัย สามารถสร้างสมการพยากรณ์ ผลการปฏิบัติงานในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ ผลการปฏิบัติงาน = - 33.640 + 1.637 (ความซื่อสัตย์) + 1.651 (ความมีสติสัมปชัญญะ) + 1.186 (ความมีวินัย)A Study of Relationship Between Morality and Ethics Existing and Work Performance of Employees in Private Companies
The objectives of this research are 1) to study the level of opinions of employees concerning existing and desirable of morality and ethics 2) to make a predicting equation of performance of the employees and existing of morality and ethics. This research was carried out with 102 employees. The questionnaires were applied for data collection which earned data were analyzed to obtain percentage, mean, and standard deviation. The statistics for hypothesis test were t-test, ANOVA, and correlation. Three predictors of existing morality and ethics for employees’ work performance were found. They were honesty, consciousness and discipline. The regression predictive equation in raw scores was as follows : Performance = -33.640 + 1.637(honest) + 1.651(common sense) + 1.186(discipline)
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้