ชาวลัวะ บ้านหมันขาว : การปรับตัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง

Authors

  • กฤษณพจน์ ศรีทารัง สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ชมภูนาฏ ชมพูพันธ์ สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สรินทร คุ้มเขต สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ลัวะ, หมันขาว, การปรับตัว, การเปลี่ยนแปลง, Lua, Mankhao, adaptation, transition

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของชาวลัวะ บ้านหมันขาว 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวถิ่นบ้านหมันขาว 3) วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวลัวะ บ้านหมันขาว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ นาข้อมูลที่ได้มาทาการวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อการสรุปความเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้โปรแกรมทดสอบทางสถิติ และอธิบายความหมายและแสดงผลข้อมูลที่ได้ทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า ชาวลัวะ บ้านหมันขาวเป็นกลุ่มชาติพันธ์ ที่อพยพมาจากจังหวัดน่าน ปัจจุบันได้จัดตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านหมันขาว ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ปัจจุบันชาวลัวะได้มีการปรับตัวตามสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป มีการปรับตัวไปตามบทบาทหน้าที่เพื่อการดำรงอยู่ของชุมชนแบบพึ่งพาอาศัย มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ปรับลดองค์ประกอบของพิธีกรรมตามความเหมาะสม ปัจจัยที่สำคัญคือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ค่านิยม ความเชื่อ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และอุดมการณ์ของคนในสังคม ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ตอบสนองต่อสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ในส่วนของพิธีกรรมก็อาจมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องกับ การดำรงชีวิต และตามความเหมาะสมของสถานะทางเศรษฐกิจแต่ละครอบครัว

 

The Lue of Ban Mankhao : Adaptations and Transitional Trends

This research has three objectives : 1) to study the context of the Lue of Ban Mankhao, 2) to study the transition and the adaptation to economy, society, and culture of the Lue of Ban Mankhao, and 3) to analyze the economic, social, and cultural transitional trends of the Lue of Ban Mankhao. The study used quantitative and qualitative methods. The acquired data was qualitatively analyzed with content analysis for the conclusion in descriptive method. The quantitative data was analyzed with the statistics testing program, and all the meaning and data were explained and presented. The research showed that the Lue of Ban Mankhao were the ethnics who migrated from Nan province. Currently Lue were the inhabitants of Moo Ban Mankhao in Koksatorn sub-district, Dansai district in Loei province. Currently, Lue people have adapted their ways of lives according to the economic change and the roles for the survival of the community by relying on each other in the community. The adaptation and the transition also included the culture, the custom, beliefs. Such adaptation and transition were done by reducing time or aspects of the ceremony for the suitability. The transition and adaptation were caused by economy, education, value, beliefs, the advancement in science and technology, and the ideal of the people in the community. And for the rite or ceremony, the change was occurred in order to response to the living style of each family, and the change of the rite aspects was done for the suitability of each family’s economic status.

Downloads

How to Cite

ศรีทารัง ก., ชมพูพันธ์ ช., & คุ้มเขต ส. (2015). ชาวลัวะ บ้านหมันขาว : การปรับตัวและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 10(33), 86–94. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/80121