ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับการบริหารจัดการ โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในจังหวัดเครือข่ายศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9

Authors

  • ศุภชัย ประเสริฐนู สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ชมพูนุท วราศิระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • พระมหาสมพร สุริโย โรงเรียนตราชูพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น

Keywords:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, การบริหารจัดการ, โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม, principal’s instructional leadership, the management of pilot inclusive schools

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม 2) ศึกษาระดับการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม และ 3) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในจังหวัดเครือข่ายศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 กลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น จำนวน 550 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 69 คน ครูผู้สอน จำนวน 481 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อคำนวณหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาครู รองลงมา คือ ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และการสอนและด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน ตามลำดับ ส่วนด้านที่มี่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจการเรียนรู้

2. การบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในจังหวัดเครือข่ายศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเครื่องมือ รองลงมา คือ ด้านนักเรียน และด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนโดยภาพรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในจังหวัดเครือข่ายศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ถึง สูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าความสัมพันธ์สูงสุดคือ ด้านการกำหนด วิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีความสัมพันธ์ต่าสุด คือ ด้านการพัฒนาครู

 

The relationship between principal’s instructional leadership and the management of pilot inclusive schools in network provinces of special education center region 9

The objectives of this research were : 1) to study the level of the principal’s instructional leadership in the schools, 2) to study the management level of the schools, and 3) to study the relationship level between the principal’s instructional leadership and the school management to study the pilot inclusive schools in the Network Provinces of Special Education Center, Region 9. The research sample consisted of 69 school principals and 481 teachers. The research instrument applied for data collection was a rating scale questionnaire which earned data were analyzed to obtain frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson correlation coefficient.

The research findings were summarized as follows :

1. The overall aspect of the principal’s instructional leadership the schools was at a high level. Each aspect was found obviously at the high to highest levels. The highest mean was the teacher development then the learning climate and the curriculum and instruction management respectively. The lowest mean found noticeably was the vision, goal and mission setting in learning.

2. The overall aspect as well as by item of those pilot inclusive schools were found apparently at a high level. The highest mean was the instrument aspect then the aspects of the student and the environment respectively while the learning and teaching activity aspect was found at the lowest mean.

3. The principal’s instructional leadership was positively associated with the management of the pilot inclusive schools at a high level with the statistical significance at .01 level. The findings were also found obviously that every aspect was associated positively at a high to highest levels with the statistical significance at .01 level. The aspect of vision, goal and mission setting in learning was the highest relation and followed clearly by the curriculum and instruction management and learning climate, respectively. The lowest mean was the teacher development aspect.

Downloads