การศึกษาการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนวัด ระดับมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร

Authors

  • ฐานิยา ภิญโญสุนันท์ สาขาวิชาบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม

Keywords:

การบริหารโรงเรียน, โรงเรียนวัด, เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา, school administration, “WAT” school, secondary education region

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนวัด ระดับมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการ 25 คน และรองผู้อำนวยการ 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็นแบบตรวจรายการข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ 1) ด้านวิชาการ 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านงบประมาณ การเงินและบัญชี และ 4) ด้านการบริหารทั่วไป จำนวน 106 ข้อ ตอนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดสอบถามข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนวัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA ผลการศึกษาพบว่า

1. การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนวัด ระดับมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลาดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ การบริหารงบประมาณ การเงินและบัญชี การบริหารบุคลากร การบริหารทั่วไป และการบริหารวิชาการ เมื่อเปรียบเทียบสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ผู้บริหารที่มีเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติในการบริหารโรงเรียนไม่แตกต่างกัน

2. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการบริหารแบบโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป กับการบริหารแบบที่มีลักษณะพิเศษ พบว่า มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเหมือนกันและไม่แตกต่างกัน

3. เมื่อเปรียบเทียบระดับปฏิบัติของการบริหารโรงเรียนทั้ง 4 ด้าน ระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป ที่เคยมีการวิจัยมาแล้วทั้งในจังหวัดระยอง–ชลบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโรงเรียนที่อยู่ในระดับความนิยมมาก กับโรงเรียนวัด ระดับมัธยมศึกษา พบว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป ล้วนมีระดับการปฏิบัติในการบริหารด้านวิชาการอยู่ในระดับสูงที่สุด ซึ่งต่างจากโรงเรียนวัด ระดับมัธยมศึกษาในงานวิจัยนี้ พบว่าการบริหารด้านวิชาการ อยู่ในระดับต่ำที่สุด

ข้อเสนอแนะของผู้บริหารต่อการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนวัด ระดับมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จากคำถามปลายเปิดพบว่า 1) การบริหารด้านวิชาการ ควรจัดหาอัตราครูเพิ่ม โดยเฉพาะครูที่มีความรู้ความสามารถชานาญการเฉพาะทาง เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เป็นต้น 2) การบริหารด้านบุคลากร ควรวางระบบการบริหารบุคลากรให้มีมาตรฐาน ควรดูแล ช่วยเหลือ สนับสนุนและแก้ไขปัญหาการบริหารบุคลากรและปรับปรุงสู่การบริหารที่ยั่งยืน 3) การบริหารด้านงบประมาณ การเงินและบัญชี ควรมีการจัดหาและจัดสรรงบประมาณให้เพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่ลดลง ทาให้ได้รับเงินรายได้ต่อหัวน้อยลง ทาให้พัฒนาด้านต่างๆไม่ได้ตามที่ต้องการ ต้องอาศัยงบจากหน่วยงานอื่น เช่น สมาคมศิษย์เก่า เป็นต้น และ 4) การบริหารทั่วไป ควรพัฒนาและปรับปรุงอาคารและสถานที่ให้เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การทำกิจกรรมนันทนาการ และการจัดกิจกรรมทางศาสนา

 

“WAT” Secondary Schools Administration, Bangkok Educational Region

The research purposes aimed to study and comparative the educational opinion of “WAT” secondary schools administration, Bangkok Secondary Education Region. The samples of the study were 25 directors and 75 deputy directors. The tool was a questionnaire composed of three parts. First part was the checklist for biography of respondents. Second part consisted of the performance of “WAT” secondary schools administration in four categories as follows: 1) academic administration; 2) personnel administration; 3) monetary and budget administration; and 4) general administration with 126 items for rating scales. Third part was an open-ended question. The statistics of frequency, mean, standard deviations, t-test and F-test were used for data analysis. The results showed that

1. The performances of “WAT” secondary schools administration in all 4 categories were generally at the high level scale. The highest scores measured orderly to lower as follow; monetary and budget administration, personal administration, general administration and academic administration. There was not difference of comparison among genders, positions, work experiences and school sizes.

2. The comparison between the criteria of measurement for general secondary school administration and “WAT” school administration with special properties found that the performances of both were generally at the high level scale and there was not difference.

3. By comparing the level of performances in 4 administration categories between general secondary schools by other previous studies in Rayong–Chonburi, Ayutthaya and the top rated secondary schools with “WAT” secondary schools found that all of them have highest performances in the academic administration oppositely to “WAT” secondary schools in this study at lowest performances.

The results of the open-ended questions showed that a) an academic administration needed more qualified teachers, especially in the field of Mathematics, Sciences, and English; b) a personnel administration should be systematically organized, functional and supportive which leaded to the improvement of permanent administration; c) monetary, budget, financial, and account administration should be increased in quantity and quality as the number of the students decreased, the school income decreased as well; d) a general administration should renovate and develop buildings and facilities to meet the need for school learning activities, recreational, and religious activities.

Downloads

How to Cite

ภิญโญสุนันท์ ฐ. (2015). การศึกษาการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนวัด ระดับมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 10(31), 62–73. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/80149