ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถใน
การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพล
ทั้งทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวมต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำนวน 557 คน จากโรงเรียนทั้งหมด 47 โรง ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-
Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ โดยมีค่าความยากตั้งแต่ .33 ถึง .68 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .30 ถึง .80 และ
ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .87 และแบบวัดปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ชนิดมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ แบ่งเป็น 5 ตอน ๆ ละ 12 ข้อ ได้แก่ ตอนที่ 1 วัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง ตอนที่ 2 วัด
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตอนที่ 3 วัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ตอนที่ 4 วัดการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง และตอนที่ 5 วัดบรรยากาศ
ในชั้นเรียน โดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .27 ถึง .68 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า
เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัย พบว่า
1. โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ X2 X2 = 78.602, df = 74, p = .335, X2 X2 /
df = 1.062, GFI = .985, AGFI = .962, SRMR = .021, RMSEA = .011 และ CFI = 1.000 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกค่า
2. ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์คือ การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง
และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ตัวแปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
คือ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ คือ บรรยากาศในชั้นเรียน ซึ่งตัวแปรในโมเดลทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความสามารถใน
การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ได้ร้อยละ 89.90
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Technology. (2012). Mathematics Measurement
and Evaluation. Bangkok : SE-ED UCATION.
[2] Kulnattasiri, Panthong. (2000). “The Movement about
NCTM : Principle Standards for School Mathematics
2000,” IPSTAR. .28(108) : 14-22 ; January-March.
[3] Office of Mahasarakham Primary Education Area 2.
(2014). Educational Information System.Office of
Mahasarakham Primary Education Area 2. Search at
8 November from; http://202.143.185.253/mhk2.
[4] Lester, Frank k.. (1977). “Ideas about Problem
Solving : A Look at SomePsychological Research,”
Arithmetic Teacher. 25(2) : 12-14 ; November.
[5] Institute for the Promotion of Teaching Science and
Technology. (2013). Teacher's Guide to Basic
Mathematics, Prathom 6, Mathematics Learning
Group. 2nd ed. Bangkok : Office of the Welfare
Promotion Commission for Teachers and Education
Personnel.
[6] Pajares, F. (1996). “Self-Efficacy Beliefs and in
Mathematical Problem Solving of GiftedStudents,”
Contemporary Educational Psychology. 4(1) :
15-18 ; August.
[7] Jantharasonthi, Utsawadee and Others. (2011).
Subjects Processing of Essence and Mathematical
Method, Unit 1-15. Nonthaburi : Sukhothai
Thammathirat Open University.
[8] Kerdphitak, Phongphan and Others. (2002).
Adolescent Behavior. 8th ed. Bangkok : Arun
Printing.
[9] Thongkaew, Thuen. (1995). “Planning for Learning
Environment Providing in the new classroom”
Curriculum Development Letter. 15(123) : 74-81 ;
October-December.