เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • ไฟล์บทความอยู่ในรูปแบบของไฟล์ Open Office, Microsoft Word, RTF, หรือ Word Perfect
  • บทความต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน หรือไม่ได้นำเสนอวารสารอื่นเพื่อการพิจารณามาก่อน (หรือมีคำอธิบายในช่องความคิดเห็นต่อบรรณาธิการ)
  • หากมีให้ระบุ URL สำหรับการอ้างอิงด้วย
  • ตัวอักษรใช้ แบบอักษร DilleniaUPC ขนาด 14-pt. ใช้ตัวเอียงแทนการขีดเส้นใต้ (ยกเว้นที่อยู่ URL) ภาพประกอบ ตัวเลข และตารางทั้งหมดจะถูกวางไว้ในข้อความในจุดที่เหมาะสมแทนที่จะอยู่ตอนท้ายบทความ
  • ข้อกำหนดเกี่ยวกับรูปแบบและบรรณานุกรมระบุไว้ใน คำแนะนำผู้แต่ง ซึ่งอยู่ในเมนู เกี่ยวกับวารสาร/ส่งบทความ
  • กรณีที่บทความของท่านเข้าสู่กระบวนการส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำการพิจารณาแล้ว หากภายหลังผู้เขียน/ผู้ส่งบทความขอแจ้งยกเลิกการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ หรือถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ทางวารสารขอสงวนสิทธิไม่คืนเงินค่าจัดการลงบทความให้แก่ผู้ส่งบทความไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

        วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นวารสารที่พิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ หรือบทความปริทัศน์ (Review articles) บทความวิจารณ์หนังสือ (Book review) และบทความวิจัยแบบสั้น (Communication letter)  ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มีกำหนดออกปีละ 3 ฉบับ คือ มกราคม - เมษายน พฤษภาคม - สิงหาคม และกันยายน - ธันวาคม ผู้เขียนบทความทุกท่านสามารถส่งผลงานมาลงตีพิมพ์ได้ โดยผลงานดังกล่าวต้องไม่เคยถูกนำไปพิมพ์เผยแพร่      ในวารสารอื่นใดมาก่อน บทความทุกบทความจะต้องได้รับการพิจารณาจากผู้ประเมินอิสระจากภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชานั้น ๆ และสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน การพิจารณาบทความผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) (Double-Blind Peer Review) โดยได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องมีผลการประเมิน จากผู้ประเมินอิสระอย่างเป็นเอกฉันท์ว่ามีความเหมาะสมที่จะนำเผยแพร่ในวารสารได้ บทความที่ได้รับตีพิมพ์อาจถูกดัดแปลง แก้ไข คำ สำนวน และรูปแบบการนำเสนอตามที่กองบรรณาธิการเห็นสมควร ส่วนบทความที่ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ หรือขอยกเลิกการตีพิมพ์ ผู้เขียนบทความไม่สามารถขอค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความคืนได้ผู้เขียนบทความ
สามารถค้นรายละเอียดต่าง ๆ สำหรับการเตรียมต้นฉบับบทความได้
จากเว็บไซต์ https://so05.tci-haijo.org/index.php/rmuj


วิธีการเตรียมต้นฉบับ

     1. ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ องค์ประกอบต่างๆ ของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้จัดทำตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับนี้ การใช้ภาษาไทย
ให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และชื่อบัญญัติตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยโดยไม่จำเป็น กรณีจำเป็นให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยในวงเล็บภาษาอังกฤษ โดยคำแรกให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ส่วนอักษรและคำที่เหลือทั้งหมดให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะทุกคำให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ การปรากฏอยู่หลายที่ในบทความของศัพท์คำเดียวกันที่เป็นภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษ ให้ใช้คำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษเฉพาะครั้งแรก ครั้งต่อไปใช้เฉพาะคำศัพท์ภาษาไทยเท่านั้น ส่วนบทความที่เป็นภาษาอังกฤษควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาด้วย

     2. การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยจัดหน้ากระดาษขนาด Letter (8.5 x 11 นิ้ว) ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษทุกด้าน ด้านละ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) จัดสองคอลัมน์ ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้า

     3. รูปแบบตัวอักษร ภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้แบบ Dillenia UPC ขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษใช้ขนาดตัวอักษรอย่างเดียวกัน ดังนี้ 1) ชื่อเรื่อง ตัวหนา ขนาด 18 pt. 2) ชื่อผู้เขียนบทความ ตัวปกติ ขนาด 16 pt. 3) รายละเอียดสาขาวิชา คณะ สถาบัน ตัวปกติ ขนาด 12 pt. 4) หัวข้อหลัก ตัวหนา ขนาด 16 pt. 5) หัวข้อรอง ตัวหนา ขนาด 14 pt. 6) เนื้อความทุกส่วน ตัวปกติ ขนาด 14 pt.
คลิกดาวน์โหลดฟอนต์ Dillenia UPC

     4. จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 15 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง

     5. การส่งต้นฉบับ ให้ผู้เขียนบทความส่งต้นฉบับทางเว็บไซต์ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/index


ประเภทของบทความ
     1. บทความวิจัย เป็นการเสนอผลการวิจัย ซึ่งอาจเป็นผลงานวิจัยบางส่วนหรือผลงานวิจัยที่สำเร็จสมบูรณ์แล้ว ที่ผู้เขียนได้ดำเนินการด้วยตนเองโดยมีส่วนประกอบ ดังนี้
          1.1 ส่วนประกอบตอนต้น
                1.1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัดแสดงเป้าหมายหลักของการวิจัย ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร กรณีบทความภาษาไทย ให้เขียนชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยก่อน ใต้ลงมาเป็นภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ยกเว้น Article และ Preposition ในประโยคให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ให้พิมพ์ด้วยตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ กรณีระบุชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตเป็นภาษาไทยให้ใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย 

                1.1.2 ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนร่วม (Authors and  Co-authors) ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลเต็มทั้งชื่อภาษาไทย          และภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนามสกุล ถ้ามีผู้เขียนบทความ หลายคน ให้ใช้หมายเลขกำกับตามลำดับ และลงเครื่องหมายดอกจัน (*) พร้อมระบุชื่อหน่วยงาน สาขาวิชา คณะที่สาขาวิชาสังกัด และ  E-mail address ของผู้ประสานงานหลักเท่านั้น
                1.1.3 บทคัดย่อ/ABSTRACT ความยาวไม่เกิน อย่างละ 300 คำ เป็นการย่อเนื้อความงานวิจัยทั้งเรื่องให้สั้น ได้เนื้อหาสาระครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ควรเขียนแบบสั้นและตรงประเด็น ระบุเฉพาะสาระสำคัญเท่านั้น 
                1.1.4 คำสำคัญ/Keywords ให้ระบุคำสำคัญเพียง 1-3 คำ คำสำคัญเป็นคำที่เด่นที่สุดของการวิจัย เพื่อใช้เป็นคำหลักสำหรับการเข้าสืบค้นหาบทความ การแยกคำสำคัญแต่ละคำให้เว้นวรรค และ Keyword ให้คั่นด้วยเครื่องหมาย ; เช่น คำสำคัญ 1 คำสำคัญ 2 คำสำคัญ 3 และ Keyword 1; Keyword 2; Keyword 3 สำหรับบทความภาษาอังกฤษ การเขียนหัวข้อที่ 1.1.1-1.1.4 ไม่ต้องมีภาษาไทย
          1.2 ส่วนของเนื้อหาบทความวิจัย 
                1.2.1 บทนำ ให้ระบุภูมิหลัง ความสำคัญของปัญหาการทำวิจัย เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสาเหตุการทำวิจัย
                1.2.2 วัตถุประสงค์การวิจัย ให้ระบุประเด็นสำคัญที่ครอบคลุมแนวทางการทำวิจัยทั้งหมด
                1.2.3 สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) ให้เป็นการบรรยายลักษณะและความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา
                1.2.4 กรอบแนวคิดการวิจัย ให้ระบุกรอบความคิด การวิจัยเป็นความเรียง ส่วนกรณีจัดทำกรอบแนวคิดการวิจัยเป็นแผนภาพ ให้ผู้เขียนบทความจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะ
                1.2.5 วิธีดำเนินการวิจัย
                     - กรณีเป็นการวิจัยที่มีวงรอบเดียว ย่อหน้าแรกให้ระบุระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology)
                     - กรณีมีการดำเนินการวิจัยมากกว่า 1 วงรอบ ให้ระบุวิธีดำเนินการวิจัยแต่ละวงรอบให้ชัดเจน และครบทุกรายการดังนี้ 
                       1) แหล่งข้อมูล เช่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มที่ศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นต้น โดยให้ระบุกรอบของแหล่งข้อมูล จำนวนและการได้มาของแหล่งข้อมูลอย่างชัดเจน
                       2) เครื่องมือการวิจัย ให้ระบุชื่อ ประเภทเครื่องมือ การสร้าง และการหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัย พร้อมรายงานคุณภาพของเครื่องมือวิจัย
                       3) การเก็บรวบรวมข้อมูล ให้ระบุขั้นตอน วิธีการ และการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน
                       4) การวิเคราะห์ข้อมูล  
กรณีข้อมูลเชิงปริมาณ ให้ระบุว่าเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลอะไร ด้วยสถิติใด โดยเขียนเป็นความเรียงไม่ต้องระบุสูตรทางสถิติกรณีข้อมูลเชิงคุณภาพ ให้ระบุวิธีตรวจสอบข้อมูล เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล หลักการและเกณฑ์การตีความ
                1.2.6 ผลการวิจัย ให้ระบุผลการวิจัยที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยให้ชัดเจน และมีรายละเอียดครบถ้วน
                1.2.7 สรุปและอภิปรายผลการวิจัย เป็นการสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานหลักของการวิจัย (ถ้ามี) พร้อมอภิปรายผลการวิจัย ตามสภาพความเป็นเหตุเป็นผล ตามหลักตรรกศาสตร์ หรือหลักฐานทางทฤษฎี โดยอาจยกรายงานผลการวิจัยที่มีวิธีการดำเนินการวิจัยรูปแบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 กับงานวิจัย นำมาสนับสนุน หรือโต้แย้ง ข้อค้นพบจากการวิจัย
                1.2.8 ข้อเสนอแนะ แบ่งเป็น 1) ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ ให้ระบุเฉพาะการนำผลการวิจัยที่เป็นองค์ความรู้ หรือวิธีการที่ดีกว่า โดยเสนอแนะให้นำไปใช้ประโยชน์อย่างไร และมีข้อระวังหรือมีความเสี่ยงอย่างไร 2) ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป โดยเสนอแนะควรทำวิจัยต่อยอดจากงานวิจัยนี้อย่างไร 
          1.3 ส่วนประกอบตอนท้าย
                1.3.1 กิตติกรรมประกาศ ให้ระบุเฉพาะข้อความขอบคุณผู้ที่มีความสำคัญในการจัดทำงานวิจัย การเรียบเรียงรายงานการวิจัยและการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย จนทำให้งานวิจัยนี้     สำเร็จลุล่วงด้วยดี ความยาวไม่ควรเกิน 100 คำ
                1.3.2 เอกสารอ้างอิง ให้ระบุเอกสารที่ใช้ศึกษาค้นคว้าประกอบการเขียนบทความ การอ้างอิงใช้การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological   Association) รวมทั้งการเขียนเอกสารอ้างอิง โดยเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกฉบับจะต้องมีปรากฏการอ้างอิงในบทความ ซึ่งการอ้างอิงต้องอ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตามรูปแบบของชนิดเอกสารที่อ้างอิง

 

     2. บทความวิชาการ  เป็นบทความที่ผู้เขียนบทความได้แต่งและเรียบเรียงขึ้นใหม่จากการสังเคราะห์ประสบการณ์ทางวิชาการและ
การสังเคราะห์องค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยมีส่วนประกอบดังนี้

          2.1 ส่วนประกอบตอนต้น
                2.1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัด แสดงสาระสำคัญของบทความ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร บทความภาษาไทยให้เขียนชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยก่อน ใต้ลงมาเป็นภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ยกเว้น Article และ Preposition ในประโยคใช้ตัวพิมพ์เล็ก ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ให้พิมพ์ด้วยตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ กรณีระบุชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตเป็นภาษาไทยให้ใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย
                2.1.2 ชื่อผู้เขียนบทความและผู้เขียนบทความร่วม (Authors and Co-authors) ระบุเฉพาะชื่อ และนามสกุลเต็มทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนามสกุล ถ้ามีผู้เขียนบทความหลายคน ให้ใช้หมายเลขกำกับตามลำดับและลงเครื่องหมายดอกจัน (*) พร้อมระบุชื่อหน่วยงาน สาขาวิชา คณะที่สาขาวิชาสังกัดและ E-mail address ของผู้ประสานงานหลักเท่านั้น
                2.1.3 สาระสังเขป/SUMMARY ความยาวไม่เกินอย่างละ 300 คำ เป็นการย่อเนื้อความทั้งเรื่องให้สั้น ได้เนื้อหาสาระครบถ้วนและตรงประเด็นตามเรื่องเต็ม สาระสังเขปให้พิมพ์ เป็นสดมภ์เดียว ใช้รูปแบบตัวอักษร Dillenia UPC ตัวปกติ ขนาด 14 pt. ส่วน SUMMARY ให้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษสดมภ์เดียว ใช้รูปแบบตัวอักษร Dillenia UPC ตัวปกติ ขนาด 14 pt.
                2.1.4 คำสำคัญ/Keywords ให้ระบุคำสำคัญเพียง 1-3 คำ คำสำคัญเป็นคำที่เด่นที่สุดของเนื้อเรื่องนี้ เพื่อใช้เป็นคำหลักสำหรับการเข้าสืบค้นหาบทความนี้ ส่วน Keyword ทุกคำให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ การแยกคำสำคัญให้คั่นด้วยเครื่องหมาย ; และ Keyword แต่ละคำให้คั่นด้วยเครื่องหมาย ,
          2.2 ส่วนเนื้อหาของบทความวิชาการ
                2.2.1 บทนำ ให้ระบุประเด็นที่จูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในเรื่องนั้น ๆ โดยอาจใช้วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ เช่น ยกปัญหาที่อยู่ในความสนใจมาอภิปราย หรือประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ เป็นต้น ควรมีความยาวประมาณ 1-2 ย่อหน้า
                2.2.2 เนื้อเรื่อง ให้ระบุเกี่ยวกับหลักวิชาการที่ต้องการเผยแพร่ โดยแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของเหตุที่นำไปสู่ผลในเชิงวิชาการ อาจมีการอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านภาษา ที่เขียนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและประทับใจมากที่สุดในส่วนเนื้อเรื่องนี้ผู้เขียนบทความควรคำนึงถึง การเรียบเรียงการจัดลำดับเนื้อหา การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ การใช้ภาษา และวิธีการนำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและได้สาระอย่างครบถ้วน
                2.2.3 บทสรุป ให้ระบุประเด็นสำคัญ ๆ ของบทความ โดยนำมาเขียนรวมกันไว้อย่างสั้น ๆ หรืออาจสรุปเกี่ยวกับความสำคัญของสาระที่นำเสนอว่าสามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง หรือจะทำให้เกิดอะไรต่อไป หรืออาจตั้งคำถามให้ผู้อ่านไปสืบเสาะแสวงหาความรู้ หรือคิดค้นพัฒนาเรื่องนั้นต่อไป บทสรุปควรมีความยาวไม่เกิน 1-2 ย่อหน้า
          2.3 ส่วนประกอบตอนท้าย
                2.3.1 กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) ให้ระบุเฉพาะ ข้อความขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเขียนบทความ ความยาวไม่ควรเกิน 100 คำ
                2.3.2 เอกสารอ้างอิง เป็นการระบุเอกสารที่ใช้ศึกษาค้นคว้า การอ้างอิงใช้การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA รวมทั้งการเขียนเอกสารอ้างอิง โดยเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกฉบับจะต้องมีปรากฏการอ้างอิงในบทความ ซึ่งการอ้างอิงต้องอ้างอิงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตามรูปแบบของชนิดเอกสารที่อ้างอิง

 

คำแนะในการเตรียมต้นฉบับบทความและหลักการเขียนการอ้างอิงเอกสารแบบ APA  :  ดาวน์โหลดคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงรูปแบบ APA

ขั้นตอนการส่งบทความ (Online Submissions)

 - ศึกษาจากคู่มือ thaijo ขั้นตอนการส่งบทความ Submission


รายละเอียดการชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

1. ผู้แต่งจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ และความถูกต้องตามรูปแบบแล้ว โดยจะมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางวารสารและชำระค่าธรรมเนียม 1 ครั้ง (Submissions) ต่อ 1 บทความ

2. เมื่อผู้แต่งชำระเงินค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้วให้ดำเนินการส่งหลักฐานในระบบของวารสาร ผ่านทางกระทู้สนทนา
ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj

3. การชำระค่าธรรมเนียมการส่งบทความตีพิมพ์ นั้น ไม่ได้ถือว่าบทความ จะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพราะจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) ก่อน

4. หากบทความได้ถูกส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) ประเมินคุณภาพแล้ว กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับผู้แต่ง ไม่ว่าบทความจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามหรือไม่ก็ตาม


อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

1. บุคลากร และนักศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
    1.1 บทความภาษาไทย บทความละ 3,800 บาท
    1.2 บทความภาษาต่างประเทศ บทความละ 4,300 บาท

2. บุคคลภายนอก
     2.1 บทความภาษาไทย บทความละ 4,8000 บาท

     2.2 บทความภาษาต่างประเทศ บทความละ 5,300 บาท

ชำระค่าค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ได้ที่
ธนาคาร : ธนาคารกรุงไทย
สาขา : ห้าแยกมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อบัญชี : เงินรับฝากและเงินประกัน มรม.
เลขที่บัญชี : 476-0-42091-6

*ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์จะเรียกเก็บเมื่อบทความผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากบรรณาธิการ