จริยธรรมการปฏิบัติงานในองค์กรของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

มัลลิกา สุวรรณไตรย์1
เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร2
สัญญา เคณาภูมิ3

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับจริยธรรมการปฏิบัติงานในองค์กรของบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบจริยธรรมในการปฏิบัติงานต่อองค์กรของบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำแนกตาม
เพศ ประเภทของบุคลากร ระดับการศึกษา และระยะเวลาการทำงาน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับจริยธรรมในการปฏิบัติ
งานต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้ง
ฉบับเท่ากับ .969 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test (Independent) การวิเคราะห์ความ
แปรปรวนทางเดียว F-test (One-way ANOVA) และกรณีพบความแตกต่างใช้การทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับจริยธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า บุคลากรมีจริยธรรมในการปฏิบัติ
งานต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. เพื่อเปรียบเทียบจริยธรรมในการปฏิบัติงานต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำแนกตามเพศ
ประเภทของบุคลากร ระดับการศึกษาและระยะเวลาการทำงาน บุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามมีจริยธรรมในการปฏิบัติ
งานจำแนกตามเพศ ประเภทของบุคลากร ระดับการศึกษา และระยะเวลาการทำงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับจริยธรรมในการปฏิบัติงานของพนักงานในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า บุคากรส่วนใหญ่
ต้องการให้ทุกคนมีจริยธรรมในการปฏิบัติงานต่อองค์กร โดยมีข้อเสนอแนะด้านที่มีความถี่โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้าน
ความซื่อสัตย์สุจริตด้านความรับผิดชอบ ด้านความโปร่งใส ด้านความถูกต้องด้านความเสียสละด้านมีใจให้บริการ และด้านทำงานอย่าง
สร้างสรรค์ซึ่งบุคลากรมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ควรตระหนักและมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีการมีความละอาย เกรงต่อการกระทำความผิด
ไม่ว่าจะเป็นความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม อีกทั้งสามารถเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นโดยทางสายตรง เพื่อให้ผู้บริหาร
สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เพื่อให้การปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรทุกสายงานให้เป็นไปด้วยดี และไม่ผิดต่อจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ของมหาวิทยาลัย

Article Details

บท
บทความวิจัย