การปรับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain - based Learning) : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านโนนโก จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน 1.1) ศึกษาประสิทธิผลของการจัดการ
เรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน 1.2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน 2) ศึกษาผลของการจัดการ
เรียนรู้แบบสมองเป็นฐานที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของครู และ 3) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานที่มีต่อพฤติกรรม
การเรียนของนักเรียนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) แบบการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study) เก็บรวบรวมข้อมูล
ด้วยวิธีผสม (Mixed Methods) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 1 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับชั้นปฐมวัยถึง
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 คนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 19 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ขั้นตอน
การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบทแวดล้อมของการดำเนินการวิจัยระยะที่ 2 ศึกษาและเก็บ
ข้อมูลการปรับใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานเข้าสู่ระบบโรงเรียนและระยะที่ 3 ศึกษาและเก็บข้อมูลการนำนวัตกรรม
การจดั การเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานเข้าสู่กระบวนการเรยี นร้ใู นห้องเรยี นวิชาภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1)
เครื่องบันทึกเสียง 2) กล้องบันทึกวิดีโอ 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบสังเกต 5) แบบวัดเจตคติ และ6) รวบรวมเอกสาร การวิเคราะห์
ข้อมูลเชิงปริมาณใช้วิธีการทางสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์โพรโทคอล
(Protocol Analysis) และวิธีการวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Descriptive Analysis) นำเสนอข้อค้นพบในรูปแบบของการบรรยายและ
พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1) โรงเรียนบ้านโนนโก จังหวัดขอนแก่น มีการออกแบบนวัตกรรมด้านการบริหารโนนโกโมเดล “NONKO MODEL” มีหลักการ
และแนวคิดสำคัญ คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จึงได้นำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับ
บริบทของโรงเรียน ประกอบด้วยกุญแจ 5 ดอก ได้แก่ กุญแจ 1 สนามเด็กเล่น (Playground) กุญแจ 2 ห้องเรียน (Classroom)
กุญแจ 3 กระบวนการเรียนรู้แบบ BBL กุญแจ 4 หนังสือ แบบฝึกหัดและใบงาน (Book & Worksheet) และกุญแจ 5 สื่อและนวัตกรรม
ที่กระตุ้นสมอง (Resources & Innovation) สู่การพลิกโฉมโรงเรียน 1.1) ประสิทธิผลที่เกิดขึ้น ได้แก่ บริบทสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
มีความแปลกใหม่ทำให้โรงเรียนน่าอยู่ มีการเชื่อมโยงการใช้นวัตกรรมกับหลักสูตรผู้บริหารเป็นผู้นำในการปฏิบัติ มีแหล่งการสืบค้น
ข้อมูลมากขึ้นนั่นคือเครือข่ายสังคมออนไลน์ ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีเทคนิคการสอนมากขึ้น มีกระบวนการจัดการเรียนรู้หลาก
หลายวิธีการ มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบมากยิ่งขั้น ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนมากขึ้น มีเครือข่ายทางการศึกษา
เพิ่มมากขึ้น 1.2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ นวัตกรรมทางด้านการบริหารโนนโกโมเดล การสนับสนุนของผู้บริหารโรงเรียน
การสนับสนุนของชุมชนความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของครู และความเชื่อมั่นว่าการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานเป็นแนวทาง
การพัฒนาโรงเรียนและห้องเรียน 2) ครูมีพฤติกรรมการสอนจากการเป็นผู้กำกับมาเป็นเพียงผู้กระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้
มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระภาษาไทยตามที่หลักสูตรกำหนด มีการจัด
กระบวนการเรียนรู้แบ่งเป็น 5 ขั้น คือ ขั้น 1 อุ่นเครื่องขั้น 2 เรียนรู้ขั้น 3 ฝึกขั้น 4 สรุปและขั้น 5 นำไปใช้มีการเลือกใช้สื่อที่หลากหลาย
มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการเลือกหนังสือเรียนภาษาไทยตามแบบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน
และ 3) นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนที่ดีขึ้นทั้งทางด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านเจตคติ มีเจตคติที่ดีอย่างยิ่ง อยู่ใน
ระดับค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.86
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
[1] Sinthaphanon, Sukon. (2015). Learning Management
of New Teachers for Developing the Skill of 21st
Century Students. Bangkok : 9119 Printing
Techniques.
[2] Office of the National Education Commission. (2010).
National Education Act 1999 and Amendment
(No. 3) 2010. Bangkok : Prime Minister’s Office.
[3] Ministry of Education. (2009). Core Curriculum
Basic Education. Bangkok : The Agricultural
Co-operative Federation of Thailand LTD..
[4] Phophayak, Suphalak ; Homhuan, Sakpong and
Ritthidet, Sombat. (2015). “Education Quality
Development in School According to the 2nd
Education Reform Project at Sriratwittay,” Rajabhat
Mahasarakham University Journal (Humanities
and Social Sciences), 9(3) : September-December
2015 : 177-186.
[5] Wongyai, Wichai. (1997). New Paradigm :
Educational Management for developing the
Human Competency. Bangkok : SR. Printing.
[6] Caine, R. N., & Caine, G. (1990). Understanding
a brain - based approach to learning and teaching.
Educational Leadership. 48(2), 66-70.
[7] Academic and Educational Standards Office. (2009).
Thai Language Teaching Based on Concept Brain
- based Learning. Bangkok : The Agricultural Cooperative
Federation of Thailand LTD..
[8] Raksanakorn, Kuljira.(2014). “The Study Visit of
Demonstration School of TSUKUBA University,
Toyo, Japan Land of the Rising Sun,” Journal of
Education Graduate Studies Research,” Khon kaen
University. 8(3) : 11-18.
[9] Phanit, Thier. (2001). 4 MAT Teaching Activities in
Accordance with Nature Learning of Learner.
Bangkok : Sodsri - Saritwong Foundation.
[10] Office of the Basic Education Commission, (2015).
OBEC. Thailand Language Learning According to
BBL. 27 December 2015, from; https://www.moe.
go.th/moe/th/news/detailphp?NewsID=41878&Ke
y=news2.
[11] Office of Khon Kaen Primary Education Area 5.
(2015). Policy of Office of Khon Kaen Primary
Education Area5. Khon Kaen : Office.
[12] Noila, Suwit. (2015). Interview. School
Director. Ban Nonko School, Office of Khon Kaen
Primary Education Area 5.
[13] Roger, E.M. (2003). Diffusion of Innovations. 5thed.
New York : The Free Press.
[14] Bloom, B.S. et al. (1956). Taxonomy of Education
Objectives : The Classification of Education Goals.
New York : David Mckay.
[15] Trijan, Sairat and Sudjaphan, Phanee. (2016).
“Participation of Basic Educational Institution
Committees in the Educational Management of
Schools under Roi Et Primary Educational Service
Area 3 : Nongpok District, Roi Et Province,”
Rajabhat Mahasarakham University Journal
(Humanities and Social Sciences). 10(2) : 85-94.
[16] Lertwicha, Pornphilai. (2015). Roadmap for
Reverend School Pathom 1 to be able Read and
Write in 1 Year. Bangkok : Office Academic and
Educational Standards, Office of the Basic
Education Commission, Ministry of Education.