การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล ในกลุ่มจังหวัด “ร้อย แก่น สาร สินธุ์”
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล กลุ่มจังหวัด
“ร้อย แก่น สาร สินธุ์” 2) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล กลุ่มจังหวัด “ร้อย แก่น สาร สินธุ์”
และ 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล จังหวัด
ร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรตำบล กลุ่มจังหวัด ร้อย แก่น สาร สินธุ์
รวมทั้งสิ้น 218 คน จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตามระดับชั้น อย่างเป็น
สัดส่วน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง (Multiple Linear Regression)
และใช้รูปแบบการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model : SEM) โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL)
ระยะที่ 2 เป็นการสร้างแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล กลุ่มจังหวัด ร้อย แก่น สาร สินธุ์ กลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล และเกษตรพื้นที่ กลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน โดยใช้ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 จากการวิจัยในระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างแนวทางการพัฒนา ใช้วิธีการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Groups) และ
การระดมความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ (Brian Storming) นำแนวทางการพัฒนาฯ ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน
ประเมินความเหมาะสม และระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และประเมินผลแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล
จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 6 คน ประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการทดลอง ใช้สถิติ The
Wilcoxon Signed Rank Test ในการวิเคราะห์ โดยกำหนดค่าระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล กลุ่มจังหวัด ร้อย แก่น สาร สินธุ์ ประกอบด้วย 4 ตัว ดังนี้
1) งบประมาณ 2) การทำงานเป็นทีม 3) แรงจูงใจ และ 4) ความสามารถบุคคล
2. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล กลุ่มจังหวัด ร้อย แก่น สาร สินธุ์ จำนวน 13 กิจกรรม ดังนี้
1) ความหมาย และความสำคัญ 2) ที่มาของงบประมาณ 3) กิจกรรม ทีม 4) การทำงานร่วมกันเป็นทีม 5) เรียนรู้การพัฒนาบุคคล และ
ทีมงาน 6) กระดาษของฉัน 1 7) ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน 8) สมาร์ท (SMART) 9) ระดมสมองต้นไม้แห่งความคิด 10) พัฒนาการพูด 11)
รูปปริศนา 12)เป็นคนดีต้องมีเป้าหมาย และ13) พัฒนาอารมณ์
3. หลังการทดลองใช้แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล ในกลุ่มทดลองพบว่ามีการพัฒนาด้าน
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ด้านงบประมาณ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านแรงจูงใจ และ ด้านความสามารถบุคคล ได้ดีขึ้นกว่าก่อนการ
ทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Guide to Evaluation of Performance, Office of the
Permanent Secretary, Ministry of Agriculture and
Cooperatives. Ministry of Agriculture and
Cooperatives
[2] Department of Agricultural Extension. (2010).
Development of Agricultural Promotion in
Thailand. Department of Agricultural Extension.
[3] KhonKaen Provincial Agricultural Extension Office.
(2015). Report Number of Power and Problems
and Limitations in Operation of KasetTambon in
KhonKaen Province. KhonKaen Provincial
Agricultural Extension Office
[4] Roi-Et Agriculture Office. (2015). Report Number of
Power and Problems and Limitations in Operation
of KasetTambon in Roi-Et Province. Roi-Et
Agriculture Office
[5] Sakorn, Sunan.(2013). Model for Improving
Performance Effective ofAgricultural District.
Ph.D. Thesis : Regional Development Strategy
program : Rajabhat Mahasarakham University.
[6] Kalasin Agricultural Office. (2015). Report Number
of Power and Problems and Limitations in
Operation of KasetTambon in KalasinProvince.
Kalasin Agricultural Office.
[7] Seenieng, Phanjit ;Limsorn, Chotana ; Ritananchai,
Saovalak and Seenieng Chaiyakorn. (2014). “SWOT
Analysis of Agricultural Extension System in
Thailand : A Case Study of the Central
Region” Veridian E-Journal. 7(3) : 601-612 :
September-December.
[8] Sumananthakul, Akkaphon and Others. (2011).
Participatory Action Research of Development of
Learning Organization Model of Sumanan School,
Sumukprakarn Province.On 30 March 2015 from
;http://digital_collect.lib.buu.ac.th/journal/
Educa%20Admini/v6n1/18-31.pdf
[9] Runghirun, Siril.(2012). Factors affecting job
Competency of Professional Nurses in Community
Hospital, Pathumthani Province. EAU Heritage
Journal, Vol. 6 No. 1 January-June 2012.