ปฏิทรรศน์แห่งความสุข
Main Article Content
บทคัดย่อ
สาระสังเขป
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักวิชาการไม่ว่าจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักจิตวิทยา และนักสังคมศาสตร์ ต่างให้ความสนใจ ศึกษาประเด็นเรื่องความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพยายามหาคำตอบเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ ที่น่าพิศวงระหว่างรายได้หรือความ มั่งคั่งกับความสุข ซึ่งเห็นได้อย่างเด่นชัดภายหลังการนำเสนอข้อค้นพบที่สำคัญของอีสเตอร์ลีน (Easterlin) ในปี 1974 ที่มีชื่อว่า Paradox of Happiness หรือ ปฏิทรรศน์แห่งความสุข ประเด็นหลักของข้อค้นพบดังกล่าวคือ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างราย ได้กับความสุข ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ว่าจะใช้ข้อมูลภายในประเทศหรือการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ดัง กล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่เมื่อพิจารณาในระยะยาว จะพบว่ารายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ได้ทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นเสมอไป ทั้งนี้มีผล การศึกษาเชิงประจักษ์จำนวนมากสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว
วัตถุประสงค์ของบทความชิ้นนี้เพื่อนำเสนอสาระสำคัญของปฏิทรรศน์แห่งความสุข สาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการเกิด ปรากฏการณ์ดังกล่าว อันประกอบไปด้วย พฤติกรรมการเปรียบเทียบ พฤติกรรมการคาดหวัง พฤติกรรมการปรับตัว พร้อมกันนั้น ตอนท้ายของบทความได้นำเสนอผลการศึกษาเชิงประจักษ์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับความสุขในประเทศไทย พร้อมทั้ง ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยในอนาคต
คำสำคัญ : ปฏิทรรศน์แห่งความสุข, ความสุข, ความอยู่ดีมีสุข
SUMMARY
For centuries, economists, psychologists and social scientists have increasing devoted to understand the puzzling relationship between income or wealth and happiness especially after the discovering of Easterlin in 1974 called Paradox of Happiness. This paradox refers to the fact that income does not increase happiness. Easterlin (1974, 2001) finds that at a point in time, both among and within country, happiness varies directly with income, but over the long run happiness does not increase as country’s income rises. This finding has received further support from many sequence empirical researches and it has come to bring into extensive theoretical debates. The aims of this article are to describe what Paradox of Happiness is, propose some major explanations for the Paradox of Happiness which based on behavioral and psychological reason. The three main explanations compose of social comparison, aspiration and adaptation. Then this paper reviews the related important empirical studies in Thailand as well as proposes some ideas for future studies.
Keywords : Paradox of Happiness, Happiness, Well-being
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา