การพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนบ้านเหล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

Main Article Content

ดรณี ปะสังติโย
ศิริ ถีอาสนา
เกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาสภาพการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ประการที่สอง เพื่อพัฒนาครูในโรงเรียน ให้มีความรู้ ความสามารถ และเจตคติในการทำวิจัยในชั้นเรียน ประการที่สาม เพื่อศึกษาคุณภาพงานวิจัยของครูโรงเรียนบ้านเหล่า อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมี 12 คน คือ ผู้วิจัย 1 คน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 11 คนเป็นกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 7 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและ ช่วยตรวจสอบเครื่องมือ จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญประเมินงานวิจัยในชั้นเรียนจำนวน 3 คน และวิทยากร จำนวน 1 คน เครื่องมือวิจัย ที่ผ่านการหาคุณภาพเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบทดสอบก่อน-หลังการอบรม แบบวัดเจตคติ แบบประเมินงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียน ระยะที่ 2 พัฒนาครู ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ระยะที่ 3 ประเมินงานวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยพบว่า

สภาพปัจจุบันปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ก่อนการดำเนินการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนทั้ง 5 ขั้นตอนตามกรอบการศึกษาน้อย ผลของการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ด้วยการอบรมเชิง ปฏิบัติการ พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนมากขึ้น สามารถสรุปประเด็นเรียงลำดับความสำคัญ ในการแก้ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์ มีความมั่นใจในการนำไปปฏิบัติจริงได้ สามารถกำหนดวิธีการแก้ปัญหาและสร้างเครื่องมือ ในการวัดผลสัมฤทธิ์ให้สอดคล้องกับปัญหา การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนได้ จากการวัดเจติคติของกลุ่มผู้ร่วมวิจัยหลังการพัฒนา พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีเจตคติต่อ การทำวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการประเมินงานวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มผู้ร่วมวิจัยทั้ง 11 คนพบว่าโดยรวมงาน วิจัยของกลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : การพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน

 

ABSTRACT

The objectives of the research were to conduct a contextual study of classroom action research, to develop teachers’ knowledge, skills and attitude in classroom action research, and to evaluate the classroom action research outcomes of the teachers at Ban Lao School, Payakhaphumpisai District, Under Maha Sarakham Educational Service Area Office 2. The sample group consisted of 12 research participants (1 researcher and 11 target-group research participants) and 7 expert informants (3 for constructing i nstruments, 3 for assessing instruments, and 1 guest speaker or trainer.) The research instruments included the following: a questionnaire, an interview form, an observation form, a pre- and post-test, an attitude test, and a research-assessment form. The statistics used were mean, percentage and standard deviation. This study was conducted in three phases: a contextual study of classroom action research, development of teachers’ knowledge and skills in classroom action research, and quality assessment of the teachers’ action research works.

Findings indicated that prior to this study, the teachers of this school had minimal knowledge regarding the five steps of classroom action research. After the development, however, the target group gained more knowledge and skills of classroom action research. These teachers had increased knowledge and understanding in this type of research: they were able to summarize major elements and prioritize the problems as well as establishing objectives; they gained more self-confidence and ability in actual practice: identifying problems & possible solutions, making relevant assessment tools, collecting & analyzing data, improving research efficiency, and writing action research reports. Results of the attitude assessment revealed that the mean value of the teachers’ attitude was found at the highest level; and the quality assessment of the participants’ action research outcomes also revealed a high level of their research quality.

Keywords : Teacher Development in Classroom Action Research

Article Details

บท
บทความวิจัย