ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24

Main Article Content

สุภาภรณ์ โคตะรุชัย
วรวรรณ อุบลเลิศ
อนุสรณ์ ถูสินแก่น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ต่อการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 และ ประการที่สอง เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 24 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้แทนครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 144 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบ จำนวน จากตารางของ เครจชี่ และมอร์แกน และได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายแยกตามสถานภาพ โดยวิธีการจับสลาก ประกอบด้วย ผู้ บริหารสถานศึกษา จำนวน 48 คน ผู้แทนครู จำนวน 48 คน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 48 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับ จำนวน 44 ข้อ มีค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยใช้สถิติ F-test (One-way ANOVA) และ t-test (Independent samples) ผลการวิจัยพบว่า

1. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ใน ระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านปฏิสัมพันธ์ของบุคคล ด้านภูมิทัศน์ ด้านอาคารสถานที่ ด้าน การเรียนการสอน ด้านความปลอดภัย และด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับ

2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาโดย รวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ได้เสนอแนะแนวทางใน การจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาเรียงลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ โรงเรียนควรปรับปรุงและพัฒนา ด้านภูมิทัศน์ให้เป็นบรรยากาศที่ ร่มรื่น เหมาะสม โรงเรียนควรมีที่กำจัด เก็บ คัด สิ่งปฏิกูลในสถานที่ที่เหมาะสม และควรมีการบริหาร จัดการวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดอย่างทันท่วงที และสามารถนำกลับ มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ตามลำดับ

คำสำคัญ : การจัดสภาพแวดล้อมภายใน

 

ABSTRACT

This research aimed to study and compare school committees’ opinions toward management of internal environments of schools under the Secondary Educational Service Area Office 24, and to study their suggestions on management of schools’ internal environments. The sample population were 144 subjects : consisting of 48 school administrators, 48 teacher representatives and 48 chairpersons of school committees of the secondary schools under the Office of Secondary Education Area 24; determined by using the Krejcie and Morgan Table and selected through simple random sampling according to subjects’ status. Data were collected using a 5-rating scale questionnaire of .98 reliability, consisting of 44 items; and the statistics used in analyzing data through a computer program were percentage, mean, standard deviation, F-test (One-way ANOVA), and t-test (Independent).

Findings of the study reveal the following:

1. The overall opinion of the school committees toward management of internal environments of the schools under the Office of Secondary Education Area 24 was found at the high level, and their opinion regarding every specific aspect of internal environment management was also high, with the following areas found in a descending order : personal interaction, landscape and buildings, teaching and learning, safety, management, respectively.

2. There were significant differences in the opinions of school committees toward both overall and every specific aspect of internal environment management at the .05 level when analyzed according to their status.

3. The school committees’ first three suggestions regarding management of internal school environments were respectively found in a descending order : school landscapes should be appropriately developed to have pleasant learning atmosphere, schools’ limited space should be appropriately managed for storing or depositing waste, and management and maintenance of equipment and materials can be done promptly for reuse with effectiveness and safety.

Keywords : Internal Environment Management

Article Details

บท
บทความวิจัย