การเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีโดยใช้เทคนิคการรู้คิดที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยาการเจริญเติบโตของพืชการสังเคราะห์แสง และความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับมนุษย์และสัตว์และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนฯ

Main Article Content

ธันวารัตน์ กฐินเทศ
จีระพรรณ สุขศรีงาม
มยุรี ภารการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและการเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิค การรู้คิด ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติการเจริญเติบโตของพืช การสังเคราะห์แสง และความสัมพันธ์ ระหว่างพืชกับมนุษย์และสัตว์ และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 26 คน ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่าง กัน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม นักเรียนเรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด 3 ประการ คือ ความ สามารถเข้าใจได้ ความสามารถเชื่อถือได้ ความสามารถในการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การเจริญเติบโตของพืช การสังเคราะห์แสง และความสัมพันธ์ระหว่าง พืชกับมนุษย์และสัตว์ จำนวน 3 แผน แผนละ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และแบบทดสอบ 2 ชุด คือ แบบทดสอบวัดแนวความคิดเลือก เกี่ยวกับมโนมติชีววิทยาการเจริญเติบโตของพืช จำนวน 5 ข้อ มโนมติการสังเคราะห์ด้วยแสง จำนวน 6 ข้อ และมโนมติความสัมพันธ์ ระหว่างพืชกับมนุษย์และสัตว์ จำนวน 5 ข้อ แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ จำนวน 3 ด้าน และแบบวัดแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ Chi-square test, Paired t-test, และ F-test (One-way ANCOVA) ผลการวิจัย พบว่า

1. นักเรียนโดยส่วนรวม และจำแนกตามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่เรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิค การรู้คิด มีความเข้าใจอย่างสมบูรณ์เพิ่มขึ้น แต่มีแนวความคิดที่ผิดพลาดในมโนมติ การเจริญเติบโตของพืช การสังเคราะห์แสง และ ความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับมนุษย์และสัตว์ ลดลงจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนโดยส่วนรวม และจำแนกตามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่เรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการ รู้คิด มีการคิดวิเคราะห์โดยรวม และเป็นรายด้านทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความสำคัญ ด้านความสัมพันธ์และด้านหลักการ เพิ่มขึ้นจากก่อน เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง หลังจากเรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด มีการคิด วิเคราะห์โดยรวมและเป็นรายด้านทั้ง 3 ด้านมากกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ตํ่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : การคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี, โดยใช้เทคนิคการรู้คิด, การเปลี่ยนแปลงแนวคิดเลือก, การคิดวิเคราะห์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

 

ABSTRACT

This research aimed to examine and compare the effects of the good scientific thinking techniques with Metacognitive techniques on changing alternative biology conceptions of plant growth, photosynthesis and relations of plants to animals and humans, and analytical thinking of 5th grade students with different achievement motivations. The sample subjects were twenty six students, who were selected by the cluster random sampling technique. The good scientific thinking techniques with 3 Metacognitive techniques : intelligibility, plausibility, and wide-applicability were employed for the experiment. The research instruments included 1) 3 lesson plans on plant growth, photosynthesis and relations of plants to animals and humans, 2) two kinds of tests: sixteen items of the test on alternative biology conceptions of plant growth, photosynthesis and relations of plants, animals and humans; thirty items of the test on analytical thinking; and thirty items of an assessment form of the achievement motivations. The statistics used for hypotheses testing were Chi-square test, paired t-test, and F-test (One-way ANCOVA).

Results of the research were as follows:

1. The average level of the conceptions of the students on plant growth, photosynthesis and relation of plants to animals and humans through the good scientific thinking techniques with Metacognitive techniques was high, and the average level of the conceptions of the students on plant growth, photosynthesis and relation of plants to animals and humans regarding the different achievement motivations increased. The average level of the misconceptions of the students on plant growth, photosynthesis and relation of plants to animals and humans before learning significantly decreased at the 0.05 level.

2. The average level of the analytical thinking of the students through the good scientific thinking techniques with Metacognitive techniques regarding three main points of analysis: importance, relations and principles significantly increased at the .05 level.

3. The average level of the achievement motivation of the students after using the good scientific thinking techniques with Metacognitive techniques regarding three main points of analysis was significantly higher than before using the scientific thinking techniques at the .05 level.

Keywords : Good Scientific Thinking Techniques with Metacognitive Techniques, Change of Alternative Conceptions, Analytical Thinking, Achievement Motivation

Article Details

บท
บทความวิจัย