การพัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

เยาวเรศ ปริวันตา
อรัญ ซุยกระเดื่อง
เนตรชนก จันทร์สว่าง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับชั้นมัธยมศึกษา ปี ที่ 1 ประการที่สอง เพื่อหาคุณภาพของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ประการที่สาม เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของคะแนนจากแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 26 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 380 คน จาก 10 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน และใช้การสุ่มแบบสองขั้นตอน แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัว เลือก จำนวน 45 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนกโดยใช้เทคนิค 27% ค่าความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์-ริ ชาร์ดสัน (KR-20) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้ง 13 ทักษะมีลักษณะเป็นข้อสอบแบบเลือก ตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 45 ข้อ

2. คุณภาพของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังนี้ ค่าดัชนีสอดคล้องระหว่าง ข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.48 ถึง 0.68 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.41 ถึง 0.67 ค่า ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุก ทักษะวัดได้ตรงกับโครงสร้างและตรงจุดหมายของการวัดโดยมีค่านํ้าหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.28 ถึง 0.50 อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 มีความแปรผันร่วมกันกับองค์ประกอบร้อยละ 30 ถึง 100 และผลการทดสอบไค-สแควร์ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 2.21 ซึ่งมีค่าไม่แตกต่างจากศูนย์ ค่าสถิติ GFI เท่ากับ 1.00 ค่าสถิติ RMSEA เท่ากับ 0.00 แสดงว่า โมเดลการวัดทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง

3. เกณฑ์ปกติของคะแนนจากแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที 1 ของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ในรูปคะแนน T ปกติ มีค่าอยู่ระหว่าง T18 ถึง T80

คำสำคัญ : ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

 

ABSTRACT

This research aimed to 1) develop a science process skills test for 7th Grade students, 2) investigate the quality of the test, and 3) determine the local norms based on science process skills test for 7th Grade students under the Secondary Educational Area Office 26. The sample group consisted of 380 7th Grade students from ten schools. The sample size was determined by using Taro Yamane formula and selected by the two-stage random sampling technique. The test contained 45 items of four multiple choices. The statistical procedures employed in the study were mean and standard deviation. The discrimination power was analyzed by 27% technique; the reliability value by Kuder Richardson (KR20) and the analysis of factors by the statistical packages.

The research findings were concluded as follows :

1. The developed science process skills test for 7th Grade students consisted of 13 skills and 45 items.

2. The qualities of the developed science process skills test indicated that the item difficulty indexes ranged from 0.48 to 0.68; the item discrimination indexes from 0.41 to 0.67. The reliability coefficient of the whole test was 0.92. It was found out that every skill had the construct validity and met the objectives of the test, having the value from the factor analysis from .28 to .50 with statistical significance at .05 level. The square multiple correlation (R2) was from .30 to 1.00 and the Chi-Square test was from 0.00 to 2.21 (p >.05). The Goodness-of-Fit Index was 1.00 and the Root Mean Square Error of Approximation was 0.00 which indicated that the science process skills test contained the construct validity.

3. The local norms of the developed science process skills test for 7th Grade students from the schools under the Secondary Educational Area Office 26 ranged from T18 to T80 .

Keyword : Science Process Skills

Article Details

บท
บทความวิจัย