ความคิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ธนพร จันทะเขต
ทรงศักดิ์ จีระสมบัติ
สัญญา เคณาภูมิ
ยุภาพร ยุภาศ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อความคิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้าน ประการที่สอง เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น ของคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีเพศอายุ ระดับการศึกษา และพื้นที่ของเทศบาลที่อาศัยอยู่แตกต่างกัน และ ประการที่สาม เพื่อศึกษาข้อ เสนอแนะของคณะกรรมการหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลในอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด โดยกลุ่ม ตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลดงสิงห์ เทศบาลตำบลดินดำ เทศบาลตำบลจังหาร และเทศบาล ตำบลผักแว่น จำนวน 318 คน โดยวิธีการกำหนดสัดส่วน (Proportion random sampling) และใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .96 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ทดสอบด้วยวิธี t-test (Independent samples test) และ F-test (One -way ANOVA) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า

1. คณะกรรมการหมู่บ้านมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลในอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก จำนวน 3 ด้าน และ อยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ด้านการบำรุงศิลปะจารีต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ด้านการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ด้านการให้ราษฎรได้รับการศึกษาและอบรม ด้านการจัดให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ด้านการรักษาความสะอาดของ ถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และ ด้านการจัดให้มีและบำรุงทางบก

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลในอำเภอ จังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า คณะกรรมการหมู่บ้าน ที่มีเพศ และอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามอำนาจ หน้าที่ของเทศบาลตำบลในอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคณะกรรมการหมู่บ้าน ที่มีระดับ การศึกษา และพื้นที่ของเทศบาลที่อาศัยอยู่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลใน อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลในอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด มีเพียง 2 ด้าน ดังนี้

3.1 ด้านการจัดให้มีและบำรุงทางบก เช่น ให้เทศบาลตำบลจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์บอกการจำกัดขนาดรถบรรทุกที่ วิ่งผ่านถนนแต่ละสายโดยเฉพาะกรณีที่มีการก่อสร้างถนนเสร็จใหม่ ๆ ให้จัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซมถนนให้สามารถใช้การได้ ตลอดเวลาควรจัดสร้างถนนให้เสร็จตามแผนงานที่ตั้งไว้ ควรจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกสำรวจถนนร่วมกับผู้นำหมู่บ้านเป็นประจำ

3.2 ด้านการรักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เช่น ควร ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ช่วยกันทำความสะอาดถนนเดือนละ 1 ครั้ง ควรจัดหาถังขยะ รถขนขยะให้บริการ ประชาชนแต่ละครัวเรือน ตลอดจนจัดให้มีสถานที่กำจัดขยะระดับตำบล และควรจัดให้มีการส่งเสริมการประกวดหมู่บ้าน ถนนสะอาด ทุก 6 เดือน

คำสำคัญ : คณะกรรมการหมู่บ้าน, อำนาจหน้าที่, เทศบาลตำบล

 

ABSTRACT

The research aimed to survey and compare the opinions of the village committee members towards the administration in accordance with their authority of Sub-District Municipality in Jangharn District, Roi-Et Province, including to find some useful suggestions for the administration of the village committee members. The samples were three hundred eighteen members of the village committee from four sub-district municipalities: Dongsing, Dindam, Jangharn and Pakwaen. They were selected by proportion random sampling and simple random sampling techniques. The instrument was a rating scale questionnaire with .96 reliability index. The statistics used were frequency, percentage, mean, and standard deviation. t-test and F-test (One-way ANOVA) were used for hypothesis testing at the .05 level of statistical significance. Results of the research were as follows:

1. The finding showed that the average level of the opinion of the committee members towards the administration in accordance with their authority was moderate. Three high levels of the administration were human resource development focusing on women, children, teenagers, elders and disabled, preservation of Local culture, traditions including local wisdom and contagious disease prevention. Five moderate levels of the administration were community security, education and training, fire extinguishers, cleanliness of public areas, and land and water transportation maintenance.

2. The finding showed that the average level of the opinion of the members towards the administration regarding the different gender and age was not significantly different at the .05 level. Whereas, the opinion of the members towards the administration regarding the different educational background and location of the municipality offices was significantly different at the .05 level.

3. In regard to the suggestions, they are concluded that the land transportation should be improved especially new roads and road maintenance. The traffic laws /regulations should be promoted and clarified for vehicle drivers. In addition, the public areas particularly roads should be always clean. The garbage bins should be provided to all families in community, and there should be a convenient and suitable place for the garbage disposal in community. The cleanliness competition should be also promoted to people in community for the cleanliness campaign six months a time.

Keyword : Village Committee, Authority, Sub-district Municipality

Article Details

บท
บทความวิจัย