การวิจัย : ทิศทางของการจัดเตรียมองค์ความรู้เพื่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การที่เราจะก้าวเข้าไปสู่การเป็นหนึ่งในประชาคมอาเซียนได้อย่างภาคภูมินั้นจะต้องเปิดใจให้กว้างและจะต้องเตรียมการเพื่อให้ พร้อมสำหรับการรองรับ คือการต้อนรับผู้ที่จะเข้ามาสู่บ้านเราในฐานะที่เป็นแขก และการก้าวออกไปเพื่อเยี่ยมเยียนหรือสร้างความ เข้าใจกับคนอื่นในฐานะที่เราเองเป็นแขกของเขา ซึ่งการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เหตุเพราะโลก มันได้แคบลงกว่าที่เราคิดไว้การที่เราเคยคิดแต่เดิมว่าไม่เป็นไรเราอยู่เพียงลำพังก็ได้ไม่มีใครว่าเราไม่มีใครรู้จักเราเราก็อยู่ได้แต่ใน สถานการณ์ปัจจุบันเมื่อโลกมันแคบลงๆ แล้วเราจะคิดอยู่แต่กับความคิดเดิมเช่นนั้นไม่ได้เพราะแม้เราจะไม่ก้าวออกไปหาคนอื่น แต่ รู้ไหมว่าคนอื่นเข้าจะก้าวเข้ามาหาเราเอง เสมือนหนึ่งในเรื่องของประชาคมอาเซียนที่เกิดขึ้นเพราะต้องการที่จะกระชับความสัมพันธ์ ของคนในภูมิภาคให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น กล่าวคือเป็นการเปิดโอกาสให้คนในประชาคมอาเซียนได้รู้จักกันและเรียนรู้กันมากขึ้น นั่นเอง โดยที่แก่นหรือแกนของการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากว่าเราไม่มีกาศึกษาและการวิจัยที่จะสามารถเข้ามาสร้างความรู้และ ความเข้าใจของคนในประชาคมอาเซียนได้ ดังนั้น การศึกษาและการวิจัยจึงถือว่าเป็นหัวใจหลักของการเป็นประชาคมอาเซียน
คำสำคัญ : การวิจัย, เตรียมความพร้อม, สังคมอาเซียน
ABSTRACT
To be ASEAN Community membership with the great pride is important for ASEAN citizens. Thus. it is necessary for the citizens to prepare themselves with open mind for welcoming visitors from AEAN countries. In addition, people in ASEAN countries have great opportunity to visit, learn and understand languages, culture, politics and life including sharing their experience with people in ASEAN countries. Therefore, building strong friendship is an important strategy for all ASEAN countries. Academic cooperation is one of the key strategies for both educational development and professional development of ASEAN community citizens. Education and research, in particular, take an important role in strengthening ASEAN community.
Keywords : Research, Preparation, ASEAN Community
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา