การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมหอพักนักศึกษา ประการที่สอง เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และประการที่สาม เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การบริหารจัดการหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตภาคเหนือ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยการวิเคราะห์สาระข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลจากแบบสอบถามบุคลากร (144 คน) และ นักศึกษา (240 คน) รวม 384 คน ของมหาวิทยาลัยราชภัฎเขตภาคเหนือ และข้อมูลจากแบบสำรวจและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฎเขตภาคเหนือรวม 8 คน และการตรวจสอบผลการวิจัยโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า
สภาพปัจจุบันของการเกิดภาวะมลพิษในหอพักนักศึกษาประกอบด้วย มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษจากอาหารปน เปื้อน มลพิษทางเสียง และมลพิษจากสารพิษและมูลฝอยอันตราย จึงนำไปสู่การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของ หอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ เรียกว่า WACOST Model 2010 ประกอบด้วย 1) W: Watching (การเฝ้า ระวัง) 2) AC: Acknowledgement and Collaboration (การยอมรับและการร่วมมือ) 3) O: Outsourcing audit (การตรวจสอบ โดยภายนอก) 4) S: Sanction (การตักเตือนและลงโทษ) และ 5) T: Treatments (การบำบัดรักษาทางกายภาพ) รวมทั้งกลยุทธ์ ย่อยของแต่ละกลยุทธ์เพื่อทำให้เกิดประสิทธิผลในการนำไปใช้ในการปรังปรุงแก้ไขหรือลดภาวะมลพิษของหอพักนักศึกษา เพื่อให้ได้ หอพักที่มาตรฐาน สะอาดและ ปลอดจากมลพิษ ข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารหอพักนักศึกษาคือ ต้องทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเห็น ความสำคัญของปัญหามลพิษในหอพักมหาวิทยาลัย และให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และควรให้สมาชิกของชุมชนหอพักมีส่วน ร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษของหอพักมหาวิทยาลัย
คำสำคัญ : การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม, หอพักนักศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ
ABSTRACT
The purposes of this research were to: firstly study the current conditions of environmental management of the student dormitories at Rajabhat Universities in the north zone, secondly analyze environmental management and thirdly present the strategies for the management of the student dormitories at Rajabhat Universities in the north zone. The research was conducted by analyzing the data and contents from documents, 144 personnel and 240 students from questionnaires, total 384 persons in Rajabhat Universities in the north zone, and data from questionnaires and interviewing of 8 executives of Rajabhat Universities in the north zone and also examined by the distinguish experts.
The results of the study found that the current conditions of student dormitories pollution were air pollution, water pollution, contaminated food pollution, noise pollution, poisonous materials and hazardous garbage pollution that led to the strategic improvement of environmental management of the student dormitories at Rajabhat Universities in the north zone which were called ‘WACOST Model 2010’ which consisted of: 1) W: Watching, 2) AC: Acknowledgement and Collaboration, 3) O: Outsourcing audit, 4) S: Sanction, 5) T: Treatments, including the sub-strategies of each strategy to make the efficiency of adoption to improve or decrease the pollutions in the student dormitories for standard, cleanliness, and pollution free environment. The suggestions from the managers of student dormitories were: to convince the university administrators to recognize pollution problems in student dormitories, try to support the budget, and enhanced the students who lived in the dormitories to participate in solving pollution problems of the dormitories in the university.
Keywords : Environmental management, Student dormitories, Rajabhat Universities in the north zone
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา