การศึกษาแนวการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

สุดารัตน์ จ่าภา
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ
จำเนียร พลหาญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประการแรกศึกษาสภาพและความต้องการการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ และประการที่สองศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลหนองฮี อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุตำบลหนองฮี จำนวน 255 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบบันทึกการประชุมกลุ่มผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งสิ้น 43 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิต พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านอาชีพและด้านสังคม มี ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.49 มีความต้องการการจัดการศึกษาตลอดชีวิตทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.26 รูปแบบการจัดการศึกษา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการวิธีการจัดการศึกษาในรูปแบบของการฝึกอบรม โดยผู้ทรง คุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ เป็นวิทยากร ใช้ระยะเวลา1-2 วัน ครั้งละ 4-6 ชั่วโมง ช่วงเวลา 09.00 – 12.00 น. ในวัน เสาร์-อาทิตย์ และการจัดกิจกรรมที่ศาลาวัด

2. การศึกษาแนวทางการจัดการศึกษา พบว่าการจัดการศึกษาด้านสุขภาพกาย ควรมีการให้ความรู้ทางการแพทย์และการดูแล เบื้องต้น เกี่ยวกับโรคของผู้สูงอายุและการป้องกัน ด้านจิตใจ ควรมีการปฏิบัติธรรมะกับการครองตน การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและ อารมณ์ การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลต่างวัย ด้านเศรษฐกิจ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการประกอบอาชีพในท้องถิ่น และด้าน สังคม ควรมีการจัดกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมการออกกำลังกายกิจกรรมการพัฒนาบุคลิกภาพ รูปแบบการจัดการศึกษา คือ ฝึก อบรมในวันเสาร์-อาทิตย์ 1-2 วัน ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ช่วงเวลา 09.00-12.00 น.โดยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ

คำสำคัญ : การศึกษาตลอดชีวิต, ผู้สูงอายุ

 

ABSTRACT

This research aimed to 1) survey and analyze conditions and needs for life-long education of senior citizens in Nong He Community, Nong He District, Roi-et Province; and 2) study guidelines for life-long education for the senior citizens of this community. The target population was two hundred and fifty five senior citizens in Nong He Community, Nong He District, Roi-et province, selected by purposive sampling. The instruments used in the study were a questionnaire and a meeting recording form. A focus-group technique was employed for this research involving 43 research participants and informants. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.

Findings of the study were as follows:

1. Regarding four aspects of the conditions and needs for life-long education of senior citizens in Nong He Community, Nong He District, Roi-et Province, the study revealed that the average level of the conditions regarding physical, mental, occupational, and social aspects was moderate ( \dpi{80} \bar{X} = 3.49), but the average level of the needs for four aspects was high ( \dpi{80} \bar{X} = 4.26). Most of the elder needed to be trained by experts, they needed a 1-2 day training course, and the training period should be from 09.00 to 12.00 on Saturdays and Sundays and it should take about 4-6 hours a day. The training activities should be held in a temple hall or pavilion.

2. In regard to the following guidelines, they are concluded that the basic knowledge of medical care for the elderly illness including prevention should be transferred to the elder. For mental condition, there should be religion-based practice or Dhamma practice and meditation with self-discipline, mental and emotional changes, establishing relationships with different ages. For the economic aspect, there should be occupational supporting activities in community. And for their social condition, there should be social activities as well as exercises for personality development of the elder. The model of life-long education for the elder should be trained on Saturdays and Sundays, 1-2 days , 1-2 hours a day, during 09.00-12.00 a.m. and the training course should be trained by experts.

Keywords : Life-Long Education, Elder

Article Details

บท
บทความวิจัย