การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กรุณา เสนฤทธิ์
อรัญ ซุยกระเดื่อง
ประจัญ จันเติบ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดสร้างสรรค์ ประการที่สอง เพื่อหา คุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดสร้างสรรค์ และ ประการที่สาม เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบวัดความ สามารถการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การดำเนินการวิจัยโดยการทดลอง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เพื่อหาคุณภาพ รายข้อและปรับปรุงแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ครั้งที่ 2 เพื่อ หาคุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับและปรับปรุงแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย และครั้งที่ 3 เพื่อสร้าง เกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2553 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 319 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบอัตนัย จำนวน 3 ฉบับ ฉบับละ 6 ข้อ รวมทั้งหมดเป็น 18 ข้อ ผลการวิจัย พบว่า

1. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 3 ฉบับๆ ละ 2 แบบๆ ละ 3 ข้อ สร้างตาม ทฤษฎีของกิลฟอร์ด

2. การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2.1 ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีอยู่ระหว่าง 0.80-1.00

2.2 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อด้านความคล่องแคล่วในการคิด อยู่ระหว่าง 0.907-0.790 ด้านความยืดหยุ่นในการคิด อยู่ระหว่าง 0.463-0.763 และด้านความคิดริเริ่ม อยู่ระหว่าง 0.390-0.763

2.3 ค่าความเชื่อมั่นระหว่างผู้ให้คะแนนเท่ากับ 0.88

2.4 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับฉบับที่ 1 วัดความคิดคล่องแคล่ว มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.63 ฉบับที่ 2 วัดความยืดหยุ่นใน การคิด มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.828 และฉบับที่ 3 วัดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.841

3. เกณฑ์ปกติของคะแนนความสามารถการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 2 พบว่า คะแนนความสามารถการคิดสร้างสรรค์ มีคะแนนดิบตั้งแต่ 19 ถึง 66 คะแนน T ปกติ ตั้งแต่ T24 ถึง T89 โดยสรุปผลจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มี คุณภาพตามเกณฑ์ สามารถนำไปใช้วัดความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้

คำสำคัญ : การคิดสร้างสรรค์

 

ABSTRACT

The present study is aimed at 1) constructing a test of creative thinking ability in Thai language for Prathom Sueksa 6 (grade 6) students; 2) determining the quality of the test of creative thinking ability in Thai language for Prathom Sueksa 6 students; and 3) finding out norms of the test of creative thinking ability in Thai language for Prathom Sueksa 6 students. The research was conducted within three experiments. The first experiment was to determine and improve the quality of each test item. The sample in this experiment consisted of 30 students obtained by the simple random sampling technique. The second experiment was to ascertain the holistic test quality and improve the test items. The sample in this experiment consisted of 32 students obtained by the simple random sampling technique. The third experiment was to find out the norms of the test scores. The sample in this experiment consisted of 319 students in the first semester of the academic year 2010 at Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 obtained by the simple random sampling technique. The instruments used for data collection in this study were three subjective tests. Each test consisted of six subjective test questions. There were eighteen test questions in total.

The research findings are as follows:

1. Obtained from the study were three tests of creative thinking ability conducted based on Guilford’s theory consisting of two patterns. There were three questions items in each pattern.

2. The quality of the test of creative thinking ability in Thai language for Prathom Sueksa 6 students reveal as follows:

2.1 Content validity value of the test of creative thinking ability in Thai language for Prathom Sueksa 6 students was .80-1.00;

2.2 The discriminations of the test in aspects of thinking competency was 0.667-0.790, thinking flexibility was 0.463-0.763, and thinking creativity was 0.390-0.763;

2.3 The test inter-relater reliability was 0.88;

2.4 Reliabilities of Test 1 which was for measuring thinking competency was 0.907; Test 2, for measuring thinking flexibility, was 0.828; and Test 3, for thinking creativity, was 0.841;

3. Norms of the raw test scores were 19-66, and the normal T scores were T24 - T89. In conclusion, the constructed test obtained from the present study can be used in measuring Prathom Sueksa 6 students’ creative thinking ability.

Keywords : creative thinking

Article Details

บท
บทความวิจัย