การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

เมขลา ลือโสภา
ประสพสุข ฤทธิเดช
ภูษิต บุญทองเถิง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีสอน แบบ SQ4R ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ประการที่สอง ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ประการที่สาม เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความ ด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R ก่อน เรียนและหลังเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ประการที่สี่ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความด้วยวิธีสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนขี้เหล็กเขียวไพรวัลย์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน จำนวน 32 คน ได้มาโดยการเลือกแบบ เจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาการอ่านจับใจความ ด้วยวิธี สอนแบบ SQ4R จำนวน 6 แผน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านจับใจความ จำนวน 1 ชุด เป็น แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาไทยด้วยวิธีสอน แบบ SQ4R ชนิดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ดัชนีประสิทธิผล และสถิติตรวจสอบสมมุติฐานการวิจัย t-test แบบ Dependent samples ผลการวิจัย พบว่า

1. แผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาการอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.75/87.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ พัฒนาการอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.75 แสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้พัฒนาการอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการสอน แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.75 หรือคิดเป็นร้อยละ 75.00

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาการอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่ม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้พัฒนาการอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62

คำสำคัญ : การอ่านจับใจความ, วิธีการสอนแบบ SQ4R

 

ABSTRACT

This research aimed to 1) develop instructional plans for Mattayom Sueksa 1 students’ reading comprehension in Thai using the SQ4R reading method with the efficiency value (E1/E2) of 80/80 ; 2) study the effectiveness index (E.I.) of the SQ4R reading method for Mattayom Sueksa 1 students’ reading comprehension in Thai; 3) compare the students’ learning achievement in reading comprehension in Thai before and after learning through the SQ4R reading method; and 4) assess the students’ satisfaction after learning through the SQ4R reading method to develop their reading comprehension. The target group consisted of 32 Mattayom Sueksa 1 students, studying in the first semester of the academic year 2011 at Kee Lek Khyo Praiwan Wittaya School, Roi-Et Office of Primary Education Area 1, obtained through the purposive sampling technique. The instruments used for data collection were 6 instructional plans for 12 hours of learning to develop reading comprehension using the SQ4R reading method, a 30-item 4-multiple choice achievement test of reading comprehension, and a 20-item 5-rating scale questionnaire for assessing students’ satisfaction after learning through the SQ4R reading method. The statistics used for data analyses were mean, standard deviation, and percentage. Dependent samples t-test was used for testing the research hypothesis.

The findings are as follows:

1. The efficiency value of the instructional plans for developing Mattayom Sueksa 1 students’ reading comprehension in Thai was 86.75/87.10, which was higher than the established criteria of 80/80.

2. The effectiveness index of the SQ4R reading method for Mattayom Sueksa 1 students’ reading comprehension in Thai was 0.75, showing that the students’ reading comprehension in Thai increased 75.00 percent after learning through the SQ4R reading method.

3. The posttest mean scores in reading comprehension of the students who learned through the SQ4R reading method were higher than those of the pre-test at the .01 level of statistical significance.

4. The students’ satisfaction after learning through the SQ4R reading method was at a highest level.

Keywords : Reading Comprehension, the SQ4R Reading Method, Thai Learning Strand

Article Details

บท
บทความวิจัย