การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ในหนังสืออ่านนอกเวลาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ศิวาพร อ่อนสุวรรณา
จารุวรรณ ธรรมวัตร
โสภี อุ่นทะยา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การสอนภาษาไทยนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงคือ ทักษะการสื่อสาร ได้แก่ การฟัง การอ่าน การพูด และการเขียนและ ทักษะทั้งสี่ประการนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านกระบวนการคิดและต้องฝึกฝนอย่างสมำเสมอให้นำมาคิดเป็นจึงจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ในหนังสืออ่านนอกเวลาเรียน ให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 /80 ประการที่สอง เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการ คิดวิเคราะห์ในหนังสืออ่านนอกเวลาเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดจรเข้ใหญ่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 2 จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ฉบับ มีจำนวน 40 ข้อ และชุดฝึกทักษะ การคิดวิเคราะห์ในหนังสืออ่านนอกเวลาเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ชุดๆ ละ 20 ข้อ รวม 100 ข้อ ซึ่งเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก การดำเนินการสร้างเครื่องมือโดยสอบถามข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อหารูปแบบชุดฝึก ทักษะที่สามารถประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ ในการคัดเลือกข้อสอบที่เข้าเกณฑ์ทำการทดลอง 3 ครั้ง การทดสอบครั้งที่ 1 และการ ทดลองครั้งที่ 2 เป็นการปรับปรุงคุณภาพ และคัดเลือกข้อสอบที่เข้าเกณฑ์ ส่วนการทดลองครั้งที่ 3 เป็นการทดสอบจริง ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล และหาคุณภาพของแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

1. ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ในหนังสืออ่านนอกเวลาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.33/84.25 แสดงว่า ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ในหนังสืออ่านนอกเวลาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ในหนังสืออ่านนอกเวลาของนักเรียนระดับชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นก่อนการทดลอง เมื่อทำการทดสอบค่าเฉลี่ยดังกล่าวด้วยสถิติการทดสอบ t-test แบบ Dependent samples พบว่า ค่าเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

โดยสรุป แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ในหนังสืออ่านนอกเวลาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่เหมาะสม สามารถนำไปจัดการเรียนรู้และสามารถพัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์ของนักเรียนให้สูงขึ้นได้

คำสำคัญ : ชุดฝึกทักษะ, การคิดวิเคราะห์, หนังสืออ่านนอกเวลาเรียน

 

ABSTRACT

In teaching the Thai language, it is essential for teachers to consider communication skills: listening, speaking , reading and writing. To effectively achieve these four skills, learners need to think and practice regularly. The purposes of this research were twofold: 1) to develop a package for practicing analytical thinking skills in Grade 9 supplementary books that met the 80/80 efficiency criterion; and 2) to compare the learning achievement of students before and after using the analytical thinking skills package in Grade 9 supplementary books. The research sample consisted of sixty 9th graders, studying in the first semester of the 2011 academic year of Wat Chorakayyai School under Samut Prakan Educational Service Area Office 2, from which thirty subjects were chosen to participate in the research through cluster random sampling. There were two instruments used for data collection: 1) a pre- and posttest containing 40 questions; and 2) a package of five sets each of which containing 20 four-choice items of analytical thinking skills in Grade 9 supplementary books. In constructing the research tools, opinions and comments of experts and research advisors were sought in order to select proper questions capable of assessing students’ analytical thinking skills. The questions were tried out three times. The first and second trials were aimed at improving and selecting questions that met the criteria and the third one was a real trial to collect data and evaluate the quality of the test. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.

Results of the study were summarized as follows:

1. The level of efficiency of the analytical thinking package in the 9th Grade supplementary books was 83.33/84.25, meaning that the analytical thinking package’s efficiency was higher than the established 80/80 efficiency criterion.

2. Regarding the learning achievement, it was found that after using the analytical thinking package in the 9th Grade supplementary books the students’ average scores were higher than before. The t-test for dependent samples indicated that the post-test mean was higher than that of the pre-test at the .01 level of statistical significance.

In conclusion, the research showed that the analytical thinking package in the 9th Grade supplementary books was efficient and effective. It could be used to manage students’ learning and improve their analytical thinking skills.

Keywords : skill development package, analytical thinking, supplementary books

Article Details

บท
บทความวิจัย