ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดสุรินทร์ : การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ

Main Article Content

อพันตรี พูลพุทธา
สุนทร จันทศิลา
สุนทรพจน์ ดำรงค์พานิช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ประการที่สอง พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยา ศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ ประการที่สาม ประมาณค่าขนาดอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรใน โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1,001 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) และครูวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาที่ 5 จำนวน 78 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ แบบวัดอัตมโนทัศน์ แบบสอบถามคุณภาพการสอนของครู แบบสอบถามบรรยากาศในชั้นเรียน และแบบบันทึกความรู้พื้นฐานเดิม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Person’s product moment) การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis :CFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (Multilevel confirmatory factor analysis : MCFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ( The Multi-level structural equation model : MSEM) ผลการวิจัย พบว่า

1. โมเดลการวัดพหุระดับตัวแปรแฝงจิตวิทยาศาสตร์ มีความตรงเชิงโครงสร้าง และสามารถวัดได้ทั้งระดับนักเรียนและระดับ ห้องเรียน ( = 65.514, df = 58, /df = 1.129, p-value = 0.2324, CFI = 1.000, TLI= 1.000, RMSEA = 0.011, SRMRW = 0.010 และ SRMRB= 0.173) และตัวแปรสังเกตมีค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้น (ICC) อยู่ระหว่าง 0.024 ถึง 0.092

2. โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาศาสตร์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่าดัชนี ความสอดคล้องกลมกลืน ประกอบด้วย = 581.649, df = 302, /df = 1.93, p-value = 0.000, CFI = 0.979, TLI = 0.977, RMSEA = 0.030, SRMRW = 0.013 และ SRMRB = 0.361

3. ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ขนาดอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรในโมเดล พบว่า 1) ในระดับนักเรียน พบว่า อัตมโนทัศน์ มีอิทธิพลทางตรงต่อจิตวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้วยขนาดอิทธิพล 0.616 และความรู้ พื้นฐานเดิมมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อจิตวิทยาศาสตร์ โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.218 และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่าน อัตมโนทัศน์ เท่ากับ 0.402 และตัวแปรทำนายทั้งสองตัว ร่วมกันทำนายความแปรปรวนจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ได้ร้อยละ 50.7 2) ในระดับห้องเรียน พบว่า ความรู้พื้นฐานเดิมมีอิทธิพลทางตรงต่อจิตวิทยาศาสตร์ของห้องเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยขนาดอิทธิพลมีค่าเท่ากับ 0.643 และตัวแปรทำนายสามารถอธิบายความแปรปรวนจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ร้อยละ 44.6

คำสำคัญ : จิตวิทยาศาสตร์, การวิเคราะห์พหุระดับ, โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ, การวิเคราะห์พหุระดับ

 

ABSTRACT

This research aimed to 1) analyze the multi-level comfirmatory factor of scientific mind of Matthayom sueksa 5 students, 2) to develop and validate the multi-level structural equation model of factors influencing scientific mind of Matthayomsueksa 5 students, and 3) to estimate direct and indirect effects of factors influencing scientific mind of Matthayomsueksa 5 students. The research sample consisted of 1,001 students obtained by using multi-stage random sampling and 78 science teachers teaching these Matthayom sueksa 5 students in the first semester of the 2011 academic year in Surin Province. The research instruments were a rating scale on scientific mind, a rating scale on self-concept, a questionnaire on teaching quality, a questionnaire on classroom atmosphere, and a form for recording prior knowledge. The collected data were analyzed using descriptive statistics, Person’s product moment, confirmatory factor analysis, multi-level confirmatory analysis and multi-level structural equation model analysis.

Findings revealed the following:

1. The multi-level measurement model of scientific mind had confirmed the structural multi-level at both the student level and classroom level (\inline \dpi{100} \chi^{2} = 65.514, df = 58, \inline \dpi{100} \chi^{2}/df = 1.129, p-value = 0.2324, CFI = 1.000, TLI= 1.000, RMSEA = 0.011, SRMRW = 0.010 and SRMRB= 0.173). The observed variables had the infraclass correlation values between 0.024 and 0.092

2. The multi-level structural equation model of factors influencing scientific mind of students was congruent with the empirical data, with goodness of fit statistics being \inline \dpi{100} \chi^{2} = 581.649, df = 302, \inline \dpi{100} \chi^{2}/df = 1.93, p-value = 0.000, CFI = 0.979, TLI = 0.977, RMSEA = 0.030, SRMRW = 0.013 and SRMRB = 0.361.

3. The results of estimation of parameters of direct and indirect effects of factors influencing scientific mind of students were as follows: 1) At the student level, the self-concept had significant direct effect on scientific mind with effect size of 0.616; and the prior knowledge had direct and indirect effects on scientific mind with effect sizes of 0.218 and 0.402 respectively, and all the variables of the student level model could explain at 50.7 percent of the scientific mind variance; 2) At the classroom level, the prior knowledge had a direct effect on scientific mind with an effect size of 0.643, and all variable of the student level model could explain at 44.6 percent of the scientific mind variance.

Keywords : Scientific Mind, Multilevel Analysis, The Multilevel Structural Equation Model, Multilevel Analysis

Article Details

บท
บทความวิจัย