การเปรียบเทียบผลของการเรียนตามรูปแบบการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิค การรู้คิด ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยา : ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ เอนไซม์ และพลังงานเคมี และการคิดวิพากษ์วิจารณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ฯ

Main Article Content

คฑาวุธ เสียงล้ำ
จีระพรรณ สุขศรีงาม
มยุรี ภารการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเรียนตามรูปแบบการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิค การรู้คิด ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยา : ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ เอนไซม์ และพลังงานเคมี และการคิดวิพากษ์วิจารณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนชีววิทยาต่างกัน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 53 คน จาก 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการ เรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์วิชาชีววิทยา เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ เอนไซม์ และพลังงานเคมี สำหรับนักเรียนที่เรียนตาม รูปแบบการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด 3 ประเภท คือ ความสามารถเข้าใจได้ (Intelligibility) ความสามารถเชื่อ ถือได้ (Plausibility) และความสามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง (Wide-applicability) จำนวน 3 แผน แผนละ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แบบทดสอบวัดแนวความคิดเลือกมโนมติปฏิกิริยาเคมี 10 ข้อ เอนไซม์ 8 ข้อ และพลังงานเคมี 3 ข้อ และแบบทดสอบวัดการคิดเชิง วิพากษ์วิจารณ์ จำนวน 54 ข้อ สถิติที่ใช้ในการทดสอบข้อมูล ได้แก่ Chi-square test, Paired t-test และ (One-way ANCOVA) ผลการวิจัย พบว่า

1. นักเรียนโดยส่วนรวม นักเรียนที่มีผลการเรียนชีววิทยาสูง และนักเรียนที่มีผลการเรียนชีววิทยาต่ำ หลังเรียนด้วยรูปแบบการ คิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด มีความเข้าใจอย่างสมบูรณ์และความเข้าใจบางส่วนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน และมีความ เข้าใจเพียงบางส่วนและแนวความคิดที่ผิดพลาด และแนวความคิดที่ผิดพลาดในมโนมติปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ เอนไซม์ และพลังงาน เคมีลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนโดยส่วนรวม นักเรียนที่มีผลการเรียนชีววิทยาสูง และนักเรียนที่มีผลการเรียนชีววิทยาต่ำ หลังเรียนด้วยรูปแบบการ คิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด มีการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์โดยรวมและเป็นรายด้าน ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการอนุมาน ด้านการยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น ด้านการนิรนัย ด้านการตีความ และด้านการประเมินข้อโต้แย้ง เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่มีผลการเรียนชีววิทยาสูงหลังเรียนด้วยรูปแบบการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด มีการคิดวิพากษ์ วิจารณ์โดยรวมและเป็นรายด้าน ทั้ง 5 ด้าน มากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนชีววิทยาต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

โดยสรุป การเรียนตามรูปแบบการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับ มโนมติชีววิทยา และการคิดวิพากษ์วิจารณ์ เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียน ดังนั้น จึงควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูวิทยาศาสตร์นำรูปแบบการ สอนนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาในระดับชั้นต่างๆ ต่อไป

คำสำคัญ : เทคนิคการรู้คิด, ความคิดเลือก, การคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์

 

ABSTRACT

This study aimed to investigate and compare effects of the good science thinking moves with metacognitive moves on changing alternative conceptions of some biology concepts: chemical reaction, enzyme & chemical energy and critical thinking ability of Mathayomsuksa 5 students with different biology learning achievements. Twenty six students were assigned to an experimental class learning through use of the good science thinking moves with 3 matacognitive techniques: intelligibility, plausibility, and wide applicability. These subjects were obtained using the cluster random sampling technique; and the instruments employed in the study were 3 learning plans, each for 2 hours of learning per week; a test on alternative conceptions with 10 items on chemical reaction, 8 items on enzyme and 3 items on chemical energy; and a 54-item test on critical thinking. The statistics employed for analyses of the collected data were the Chi-square test, the paired t-test, and the F - test (One-way ANCOVA).

Major findings revealed the following:

1. The students as a whole, the high achievers, and the low achievers showed gains in more instances of sound understanding and partial understanding, and showed fewer instances of partial understanding of specific conception and misconception than before learning at the .05 level of statistical significance.

2. The students as a whole, the high achievers, and the low achievers showed significant gains in overall critical thinking and 5 specific aspects: inference, deduction, recognition of assumptions, interpretation, and evaluation of arguments at the .05 level.

3. The high-achievers showed higher performance in overall critical thinking and in five specific aspects than that of the low achievers at the .05 level of statistical significance.

In summary, the good science thinking moves with metacognitive moves could develop more scientific biology conceptions and more critical thinking in students. Therefore, science teachers should be encouraged and supported to implement this learning approach in teaching and learning biology at any grade of the high school level.

Keywords : good science thinking moves, metacognitive moves, alternative conceptions, critical thinking

Article Details

บท
บทความวิจัย