การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารงานและเปรียบเทียบระดับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จำแนกตาม ที่อยู่อาศัยตามเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล รวมทั้งข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ คณะกรรมการชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอ เมือง จังหวัดนครพนม จาก 23 ชุมชน จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert’s rating scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .97 และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน ใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- -way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญในการทดสอบที่ระดับ .05 กรณีพบความแตกต่าง ใช้การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วย วิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับ ปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์การ ด้านงบประมาณ ด้านการ จัดบุคลากร และ ด้านเทคโนโลยี
2. การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครพนม จำแนกตาม ที่อยู่อาศัยตามเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ทั้ง โดยรวมและรายด้านทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่คณะกรรมการชุมชนจากเขตเลือกตั้งที่ 2 มีความคิดเห็นต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครพนม แตกต่างจากคณะกรรมการชุมชนจากเขตเลือกตั้งที่ 1 และ 3 กล่าวคือ คณะกรรมการชุมชนจากเขตเลือกตั้งที่ 2 มีระดับความคิดเห็นที่สูงกว่า
3. ผลวิเคราะห์ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครพนม ดังนี้ ควรให้ทุกชุมชนและทุกภาค ส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการจัดการขยะ ควรจัดแบ่งสายงานและปรับปรุงเส้นทางการเก็บขยะให้ชัดเจนอย่างเป็น ระบบ ควรจัดบุคลากรให้เพียงพอและเหมาะสมกับงาน ควรจัดงบประมาณดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้เพียงพอและ ทั่วถึง และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทันสมัยและจัดเตรียมเครื่องมือเก็บขยะมูลฝอยให้อยู่ในสภาพใช้งานได้
คำสำคัญ : การบริหารจัดการขยะมูลฝอย, เทศบาลเมืองนครพนม
ABSTRACT
The aims of this research were to study and to compare the garbage management of Muang Nakhon Phanom Municipality, Muang District, Nakhon Phanom Province regarding local electoral areas of the residents, and to find some useful suggestions. The samples were one hundred and thirty eight members of community committee from twenty three communities. They were selected through simple random sampling technique. The instrument used was five rating scale questionnaire with 97 reliability index. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, One Way ANOVA with the statistic significance level at .05 and Scheffe’s post hoc test.
The research results were as follows;
1. The average level of the garbage management of Muang Nakhon Phanom Municipality was moderate. All of five items of the garbage management were at the moderate level..They were planning, organizing, budgeting, human resource management and technology.
2. The comparison of the garbage management of Muang Nakhon Phanom Municipality, Muang district, Nakhon Phanom Province, the finding showed that the average level of the garbage management regarding the local electoral areas of the residents was significantly different at the .05 level. The average opinion of the committee members in the electoral area 2 towards the garbage management was higher that those of the members in the electoral area 1 and 3.
3. Regarding the suggestion, it is concluded that the government t and private sectors should participate in the garbage management. The routes of garbage collection should be clear. The garbage collecting personnel should be sufficient. The garbage collection equipment should be improved, good and new.
Keywords : Garbage Management, Muang Nakhon Phanom Municipality
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา