ความเป็นไปได้ของการฟื้นฟูสภาพดินที่มีการปนเปื้อนร่วมกันระหว่างโลหะหนัก กับสารประกอบโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนด้วยพืช

Main Article Content

ขนิษฐา สมตระกูล
วราภรณ์ ฉุยฉาย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การปนเปื้อนร่วมกันระหว่างโลหะหนักกับสารประกอบโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) จัดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ควรให้ความสำคัญ การปนเปื้อนร่วมกันของสารมลพิษทั้งสองนี้จำกัดประสิทธิภาพของการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้วยพืชทั้งโดยความ เป็นพิษของโลหะหนักต่อการย่อยสลาย PAHs โดยจุลินทรีย์และความเป็นพิษของ PAHs ต่อการสะสมโลหะหนักในพืช บทความ นี้ได้รวบรวมแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการฟื้นฟูสภาพดินที่มีการปนเปื้อนร่วมกันระหว่างโลหะหนักกับ PAHs ด้วยวิธีการ ต่างๆ เช่น การใช้พืชทนทานต่อโลหะหนัก แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญของพืช สารลดแรงตึงผิว และวิธีการอื่นๆ ที่มีความเป็นไปได้ แต่จำเป็นต้องศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการต่างๆ การศึกษากลไกในเชิงลึก หรือแม้แต่ผลกระทบของสภาพแวดล้อมทาง กายภาพอื่นๆ เช่นคุณภาพของดิน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนจริงต่อไป

คำสำคัญ : การฟื้นฟูสภาพด้วยพืช, โลหะหนัก, สารประกอบโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

 

ABSTRACT

Co-contamination between heavy metal and polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) is an important environmental problem that should be considered. Co-contamination of these pollutants limits the efficiency of phytoremediation both from heavy metal toxicity to PAH biodegradation and PAH-toxicity to metal accumulation in plants. This article summarized some approaches for enhancing the capacity of phytoremediation of heavy metal and PAH co-contamination soil with several methods, such as use of heavy-metal tolerant plants, plant growth promoting bacteria, biosurfactant, and other possible techniques. However, these should be studied in details in comparing efficiency of each method, its mechanism in depth, and other physical environmental factors such as soil quality for maximum efficiency in situ.

Keywords : phytoremediation, heavy metal, polycyclic aromatic hydrocarbons

Article Details

บท
บทความวิจัย