Improving Sixth Grade Students’ Speaking Skills through Information Gap with Different Task Types and Complexity

Main Article Content

Pariyaporn Setjun
Pimyupa Praphan
Intisarn Chaiyasuk

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรม The information Gap ซึ่งเรียงลำดับกิจกรรมตามความยากง่าย ระหว่างกิจกรรมข้อมูลที่เป็นปริศนา (Jigsaw) และกิจกรรมการ สื่อสารโดยใช้รูปภาพ (Picture description) และประการที่สอง เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนต่อรูปแบบการสอน The information Gap ทั้ง 2 กิจกรรม กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกจากการสุ่มแบบเจาะจงประกอบไปด้วย นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 24 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ภาษา อังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยเน้นกิจกรรม The information gap 2. แบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะการพูดวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร และ 3. แบบสอบถามวัดเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า

นักเรียนมีการพัฒนาทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรม The information gap ตามลำดับความยากง่าย และ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนโดยใช้กิจกรรม The information gap ในระดับมากที่สุดซึ่งการจัด รูปแบบกิจกรรม แบบ The information gap ช่วยให้นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะการพูดภาษาอังกฤษตามความเหมาะสมกับระดับชั้นในการเรียนอีก ทั้งยังสร้างความมั่นใจให้นักเรียนในการพูดมากขึ้น

คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูด, การใช้รูปแบบการสอนที่แตกต่างกัน, การจัดการ เรียนรู้แบบการเกิดช่องว่างทางด้าน, เจตคติของนักเรียน

 

ABSTRACT

The aims of this research are two folds: 1) to develop the speaking skills of Grade 6th students using Information Gap activities, i.e. jigsaw and picture description, based on the complexity of the activities, and 2) to study students’ attitudes towards the use of Information Gap. In both activities, the sample group was randomly selected; this included 24 Grade 6th students from a private school in the Northeast of Thailand. The research instruments were the lesson plans for an English Communication course emphasizing Information Gap activities, tests of Communicative English speaking skills, and an evaluation form for assessing the students' attitudes towards these learning activities. The research results revealed that the students' English speaking skills improved through the use of Information Gap activities arranged according to their levels of complexity. The students' satisfaction with Information Gap activities was found at the highest level. In summary, Information Gap activities could help the students in practicing their English speaking skills appropriately according to their class level and increasing their confidence in speaking.

Keywords : Information Gap Activities, English Speaking Skills, Students’ Attitudes

Article Details

บท
บทความวิจัย