การประยุกต์ใช้เทคนิคคำถามหมวกความคิดหกใบ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคคำถามหมวกความคิดหกใบ มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาแผนการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นกระบวนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิคคำถามหมวกความคิดหกใบ รายวิชาภาษาไทย สาระการอ่าน ชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ ประการที่สอง เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิคคำถาม หมวกความคิดหกใบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร อำเภอ หนองกุงศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการอ่าน เรื่อง การอ่านอย่าง มีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิคคำถามหมวกความคิดหกใบจำนวน 7 แผน ใช้เวลาสอน 14 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) รายข้อตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.93 ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ (rcc )เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิคคำถามหมวกความคิดหกใบ รายวิชาภาษา ไทย สาระการอ่าน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีประสิทธิภาพ 81.312/80.07 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ อ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิคคำถามหมวกความคิดหกใบ รายวิชาภาษาไทย สาระการอ่าน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนทดสอบหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน
คำสำคัญ : เทคนิคคำถามหมวกความคิดหกใบ, การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, แผนการจัดการเรียนรู้
ABSTRACT
The Six Thinking Hats technique can be applied to improve Upper Secondary School Students’ Critical Reading skills in learning the Thai language in order to develop their Critical Reading ability and to increase their learning achievement. The aims of this research were 1) to develop lesson plans emphasizing development of upper secondary school students’ skills in learning the Thai language by using the Six Thinking Hats technique that meet the 80/80 efficiency index, and 2) to compare the pre- and posttest achievement scores of the students using this learning process. The sample group consisted of 36 upper secondary school students from class 4/2 of Nong Kung Sri Wittayakarn School, Nong Kung Sri District, Kalasin Province, under the Office of Secondary Education Service Area 24 who were obtained through the use of cluster random sampling; and the instruments used in this study were 7 lesson plans for 14 hours of teaching, consisting of the texts for improving critical thinking skills in the Thai language using the Six Thinking Hats Technique, and a 40-item multiple-choice test of discrimination power (B) ranging from 0.25 to 0.93 and reliability (rcc) of 0.89. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The research results revealed the following :
1. The the overall efficiency index of the developed lesson plans emphasizing critical reading skills in learning the Thai language by using the Six Thinking Hats technique for upper secondary school students was 81.32/ 80.07, which met the expected standard requirement of 80/80.
2. The posttest achievement score in critical reading skills of the students learning the Thai language through use of the Six Thinking Hats Technique was significantly higher than that of the pretest at the .01 level
Keywords : Six Thinking Hats Technique, Critical Reading Skills, Lesson plan
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา