การนำนโยบายการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ปาริชา มารี เคน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแก้ไขข้อบกพร่องที่พบในการบริหารจัดการขององค์กร ปกครอง ส่วนท้องถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์ ประการที่สอง เพื่อหาแนวปฏิบัติที่ดีเหมาะสมในการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหาร จัดการองค์กร และ ประการที่าม เพื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัด กาฬสินธุ์ วิธีการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation action research : PAR) พื้นที่ศึกษา Local governance ศึกษา คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแก้วองค์การบริหารส่วนตำบลภูแล่นช้าง เทศบาลตำบลสงเปลือย เทศบาลตำบล นาคู และจาก Best practice คือเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ รวม 5 แห่งเนื้อหาการศึกษาคือการใช้หลักธรรมาภิบาลมาการดำเนินภารกิจ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการวิจัย พบว่า

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดกาฬสินธุ์มีข้อบกพร่องในการบริหารจัดการ การแก้ไขข้อบกพร่องนั้นได้มีการนำแนวปฏิบัติ ที่ดีมาประยุกต์มาใช้ในการแก้ไขปัญหา เพื่อดำเนินภารกิจขององค์กร ใน 6 ประเด็น ได้แก่ 1) ด้านการบริหารภารกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่ ประชาชนได้มีการดำเนินให้บริการประชาชนโดยเน้นประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ การดำเนินการโปร่งใส และเปิดโอกาสให้ประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วม 2) การบริหารงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของ อปท.ได้มีการกำหนดวิธีการปฏิบัติราชการที่มีวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดผลงานที่ชัดเจน มีการจัดทำคำรับรองในการปฏิบัติราชการ 3) การบริหารภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าใน เชิงภารกิจในการดำเนินโครงการแต่ละโครงการมีการประกาศกำหนดเป้าหมายแผนการทำงานระยะเวลาแล้วเสร็จ คำนึงถึงประโยชน์ ระยะยาวของทางราชการ การสั่งราชการมีลายลักษณ์อักษร 4) การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีการอนุมัติ การอนุญาต โครงการต่างๆ ที่รวดเร็ว มีการจัดทำแผนภูมิขั้นตอนที่ชัดเจน เปิดเผยเพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบได้ 5) การปรับปรุงภารกิจของ อปทมีการทบทวน ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ ที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปของสังคมและ 6) การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความ ต้องการของประชาชนมีการกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงาน มีการจัดระบบสารสนเทศมีการรับฟังข้อร้องเรียน และเปิดเผยข้อมูล

คำสำคัญ : ธรรมาภิบาลการบริหารจัดการ, แนวปฏิบัติที่ดี

 

ABSTRACT

The purposes of this research were 1) to study problems and solutions in management of local administrative organizations in Kalasin Province, 2) to seek good governance practice to be applied in management of local administrative organizations, and 3) to implement the best practice in management of local administrative organizations in Kalasin Province. This research made use of the Participatory Action Research(PAR) methodology with the following 5 research locations for studying local governance management: Buakaew subdistrict local administration, Phulan Chang sub-district local administration, Songpluey subdistrict municipality, Na khu sub-district municipality, and Muang Kalasin municipality (Best Practice), with good governance in management of municipality as the scope of this study. Findings of the study are as follows:

Regarding problems and solutions in management of local administrative organizations in Kalasin Province, the following six aspects were identified: 1) the administrative missions were designed for the benefit of the people: to serve the public by focusing on people as the top priority and having transparent administrative processes accessible for public participation; 2) the management process was focused on achievement with clear and obtainable objectives and indicators for assessing efficiency in implementation; 3) management according to missions was efficient and cost-effective with all projects designed with specified plans for accomplishment as well as long-ranged goals for public and state benefits with clear written procedures to follow; 4) reduction of steps in the working process: giving fast approval and permission for each project to ensure fast and efficient practice with clear flow charts for public scrutiny; 5) municipality missions were improved by revising rules and regulations according to changing laws and social contexts; and 6) management to facilitate and ensure public service and convenience to accommodate people’s needs by specifying clear work plans and schedules, accepting public appeals and opinions, and having supportive information systems available for public reviews.

Keywords : Good Governance, Management, Local Administrative Management, Best Practice

Article Details

บท
บทความวิจัย