การศึกษาผลการใช้สื่อการเรียนการสอนดนตรี ด้วยวิธีนำภาพแสดงแทนสัญลักษณ์ตัวโน้ต ในการเล่นอังกะลุง เพื่อพัฒนาผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านตัวโน้ตของนักเรียน ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 โรงเรียนสมิทธิพงษ์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อการเรียนการสอนดนตรีและศึกษาผลการใช้สื่อการเรียนการสอนดนตรีด้วยวิธีนำภาพแสดง แทนสัญลักษณ์ตัวโน้ตโดยใช้เครื่องดนตรีอังกะลุงในการพัฒนาผู้เรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านตัวโน้ตของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 โรงเรียนสมิทธิพงษ์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสาระการเรียนรู้ดนตรี (อังกะลุง) ระดับ ไม่ผ่าน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 รวมทั้ง 2 ห้องเรียน จำนวนทั้งสิ้น 40 คน โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาของ โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ มีแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ เก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยตนเอง โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินผลตามสภาพจริง และการวิจัยในรูปแบบการศึกษากลุ่มเดียวไม่มีกลุ่มควบคุมที่ มีการวัดหลังการทดลอง จากนั้นนำระดับคะแนนของการทดสอบมาหาค่าร้อยละและเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยใช้การทดสอบ ค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
การวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาในการผลิตสื่อการเรียนการสอนและแบบประเมินผลการเรียนการสอนดนตรี โดยใช้ค่าดัชนี ความสอดคล้อง IOC ดัชนีความสอดคล้องที่ได้ มีค่าเท่ากับ 1.00 สรุปได้ว่ากรอบเนื้อหาทุกกรอบมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ส่วนผลการทดสอบเปรียบเทียบระดับคะแนนของประชากรในการเล่นอังกะลุงโดยการอ่านโน้ตเพลงในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ได้ค่าเฉลี่ย 63.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.65 และหลังการใช้สื่อการเรียนการสอนดนตรีด้วยวิธีนำภาพแสดงแทนสัญลักษณ์ตัวโน้ต ในภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555 ได้ค่าเฉลี่ย 72.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.81 วิเคราะห์โดยใช้การทดสอบค่าที ปรากฏค่า t = -18.01 ค่าความเชื่อมั่นโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ระดับ 0.79 สรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในการ เล่นอังกะลุงโดยใช้สื่อการเรียนการสอนดนตรีด้วยวิธีนำภาพแสดงแทนสัญลักษณ์ตัวโน้ต สูงกว่าการเล่นอังกะลุงโดยการอ่านโน้ตเพลง แสดงให้เห็นว่าสื่อการเรียนการสอนดนตรีด้วยวิธีนำภาพแสดงแทนสัญลักษณ์ตัวโน้ต มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ มีความน่าเชื่อ ถือ ช่วยพัฒนาทักษะด้านการอ่านตัวโน้ต สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับผู้เรียนได้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของวัตถุประสงค์ การวิจัยเป็นอย่างดี
คำสำคัญ : สื่อการเรียนการสอนดนตรี,การใช้ภาพแสดงแทนสัญลักษณ์ตัวโน้ต,การเล่นอังกะลุง
ABSTRACT
The objectives of this research were to produce music instructional media and to study the results of this instruction to play Angkalung, a music instrument, by using pictures instead of musical notes to improve musical notes reading ability of 3rd year Kindergarteners at Smithipongse School, Bangkhuntiean District, Bangkok.
The sample group for this research consisted of 40 third-year kindergarteners of 2 classes with unsatisfactory academic achievement in the music class (Angkalung) in the 2nd semester of the year 2011. The research conceptual framework made use of the Multiple Intelligence Theory (MI) of Howard Gardner. Quantitative data and primary data were manually collected for this study. Rubrics and One-Group Posttest- Only Design were also used to analyze the data. Then, the scale of the test values, percentages, and defined criteria were compared by using t-test value (Independent t-test).
The research results showed that content validity of the music instructional media and the music evaluation form by using IOC consistency index (Index of Item Objective Congruence) was 1.00. It could be concluded that all the content frameworks were consistent with the research objectives. The average score of the sample group who performed in the 2nd semester of academic year 2011, playing Angkalung by reading musical notes was 63.55, and the standard deviation was 2.65. After applying music instructional media with pictures replacing musical notes with students in the summer semester of the academic year 2012, their average score was increased to 72.80 and the standard deviation was 2.81. The analysis by using t-test value showed t = -18.01, at the .01 level of statistical significance. The reliability calculated by using Cronbach’s Alpha was 0.79. It could be concluded that the average achievement score in musical notes reading of the students learning to play the Angkalung with pictures replacing musical notes was higher than that of the students learning to play Angkalung by reading musical notes. Therefore, using music instructional media with pictures instead of musical notes was effective, productive and reliable. This could help to develop necessary skills in reading music notes and to raise the academic achievement of students. The results were consistent with the research hypothesis and objectives.
Keywords : Music Instructional Media, Pictures Replacing Musical Notes, Angkalung Playing
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา