การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า วิชางานช่างไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลองกับการเรียนแบบปกติ

Main Article Content

ณรงค์กรณ์ คำพิศาล
สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ
อัชชา เขตบำรุง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยียังขาด สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาวิชาและเกิดทักษะกระบวนการในการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้เรียนขาดการคิดวิเคราะห์และพิจารณา ไตร่ตรอง ในการวางแผนการทำงาน จึงทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การวิจัยครั้งนี้จึง มีวัตถุประสงค์ ประการ แรก เพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า วิชางานช่างไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ประการสอง เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน แบบสถานการณ์จำลอง ที่พัฒนาขึ้น ประการสาม เพื่อเปรียบเทียบ การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วย โปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า วิชางานช่างไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ ประการสี่ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และทักษะปฏิบัติ ของนักเรียนที่เรียน ด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง กับการเรียนแบบปกติ เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า วิชางานช่างไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้มาโดยการ สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 วิธีเรียนเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มที่ 2 วิธีเรียนแบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์ จำลองเรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า วิชางานช่างไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำหรับกลุ่ม ทดลอง จำนวน 6 หน่วย 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลองและด้วยการเรียนแบบปกติ เรื่อง การ ต่อวงจรไฟฟ้า วิชางานช่างไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน จำนวน 1 ฉบับ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 4) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบเลือกตอบจำนวน 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 และ 5) แบบวัดทักษะปฏิบัติของนักเรียน เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า วิชางานช่างไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ฉบับ ซึ่งกำหนดการวัด 4 ขั้นตอน เป็นแบบรูบริค แบบภาพรวม (Holistic rubric) แบ่งระดับ ออกเป็น 3 ระดับ คือ ดี พอใช้ ควรปรับปรุง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า เฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมุติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปร ด้วยวิธีการทางสถิติ Hotelling-T2 ผลการวิจัยพบว่า

1. ด้านประสิทธิภาพของโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องการต่อวงจร ไฟฟ้า วิชางานช่างไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียน รู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 85.92 / 84.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 / 80

2. ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องการต่อวงจรไฟฟ้า วิชางานช่างไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียน รู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7616 นักเรียนมีความก้าวหน้าในด้านการเรียนรู้ร้อยละ 76.16

3. นักเรียนที่เรียนดว้ ยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง มีคะแนนการคิดวิเคราะห์กอ่ นเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องการต่อวงจรไฟฟ้า วิชางานช่างไฟฟ้า กลุ่มสาระการเรียน รู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และทักษะปฏิบัติสูงกว่านักเรียนที่เรียน แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : โปรแกรมบทเรียนแบบสถานการณ์จำลอง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การคิดวิเคราะห์, ทักษะปฏิบัติ

 

ABSTRACT

Learning and teaching activities arrangement in career and technology learning strand lacked of media and instructional aids to enhance and facilitate the student’s content and learning process skills in working. Learners lacked skills in analytical thinking and thought over in work planning which had caused learning and teaching unsuccessfully. The objectives of this research were: firstly, to develop the instructional simulation program entitled “Electrical Circuits” for grade 7th students with the required efficiency of 80/80; secondly, to investigate the effective index of the developed instructional simulation program; thirdly, to compare the students’ analytical thinking skills before and after learning through instructional simulation program and traditional learning approach; and fourthly, to compare the learning achievement, analytical thinking skills and the practicing skills of the students who learned by using the instructional simulation program and the traditional learning approach. The samples, selected through cluster random sampling technique, consisted of 60 grade 7th students attending Ban Koknalao School and Wangpraporm Wittayasooksa School, under the Office of Nong Bua Lam Phu Educational Service Area Zone 2 in the second semester of 2011 academic years. These students were split into two groups: the treatment group, consisted of 30 students, studied by using the instructional program whereas the control groups, consisted of 30 students, studied by using the traditional learning approach. The instruments used in this research were : 1) six units of the instructional simulation program, 2) lesson plans for the instructional simulation program and the traditional learning approach, 3) a 30-item achievement test with 0.88 of reliability, 4) a 30-item analytical thinking test with the reliability of 0.86, and 5) six copies for practicing skills with four steps of holistic rubric evaluation. There were three assessment levels: good, fair and adjustment. The statistics used for analyzing data were mean, percentage, standard deviation. The Hotelling-T2 was analyzed for hypothesis testing.The results of the research were as follows:

1. The efficiency of the developed instructional simulation program entitled ‘Electrical Circuits’ for the career and technology learning strand was 85.92/84.56 which was higher than the established requirement at the 80/80.

2. The effectiveness index of the instructional simulation program was 0.7616 which revealed that the students had progressed their learning at 76.16 percent.

3. The students who had learned by using the instructional simulation program and the students who had learned by using traditional learning approaches were significant difference at the .05 level.

4. The students who had learned by using the instructional simulation program showed higher in learning achievement, analytical thinking skills, and the practicing skills abilities than those by using the traditional learning approach at the .05 level of significance.

Keywords : the Instructional Simulation Program, Achievement, Analytical Thinking Skills, Practicing Skill

Article Details

บท
บทความวิจัย