การสร้างแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ดุสิต ทีบุญมา
ไพศาล วรคำ
พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 และประการที่สอง ศึกษาทักษะชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จำนวน 381 คน ที่ได้ จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบวัดทักษะชีวิตที่สร้างขึ้นจำนวน 60 ข้อ จำแนกเป็นด้านการคิด 10 ข้อ ด้านการตระหนักรู้ในตน 10 ข้อ ด้านความรับ ผิดชอบต่อสังคม จำนวน 10 ข้อ ด้านการสร้างสัมพันธภาพ 10 ข้อ ด้านการตัดสินใจ 10 ข้อ ด้านการจัดการกับอารมณ์ 10 ข้อ

2. คุณภาพของแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 ถึง 0.66 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .92 ผลการตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า องค์ประกอบของทักษะชีวิตสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมี ดัชนีวัดระดับความ กลมกลืน (Goodness of fit index : GFI) มีค่าเท่ากับ 0.86 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted goodness of fit index : AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.81 และดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (Root mean of square residual : RMR) ที่คำนวณได้เท่ากับ 0.034

3. ทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่านักเรียนมีทักษะชีวิตอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย ละ 70.08 ทักษะชีวิตอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 28.61 ทักษะชีวิตอยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 1.31

คำสำคัญ : ทักษะชีวิต

 

ABSTRACT

The objectives of this research were: firstly, to build and find out the quality life skills test for Mathayom Suksa 6 students, secondly, to study the components of life skills of Mathayom Suksa 6 students, and thirdly, to study the life skills of Mathayom Suksa 6 students in Roi-et province. The samples used in this research were 381 students who were studying in Mathayom Suksa 6 in the first semester of academic year 2011, under the Office of Education Area School District 27, selected through multi-stage random sampling.

The results of the research were as follows:

1. The life skills evaluation form for Mathayom Suksa 6 students with 60 items classified in 10 items for analytical thinking skills, 10 items for self - awareness, 10 items for social responsibility, 10 items for relationship building, 10 items for decision making, and 10 items for emotion management.

2. The qualitative of life skills test was content validity between 0.60 - 1.00, discrimination was between 0.27-0.66 and .92 of reliability. The structural validity was the component of life skills accordance with empirical data by goodness of fit index (GFI) which was at 0.86, adjusted goodness of fit index: AGFI was at 0.81 and root mean of square residual (RMR) was at 0.034.

3. The life skills of Mathayom Suksa 6 students in Roi-et province revealed that students’ life skills was very good accounted for 70.08 percent. The life skill was good accounted for 28.61 percent. The life skill was fair accounted for 1.31 percent.

Keyword : Life Skill

Article Details

บท
บทความวิจัย