การสร้างเครื่องมือทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สุภีวรรณ ทัศบุตร
ไพศาล วรคำ
ประสพสุข ฤทธิเดช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อสร้างแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประการที่สอง หาคุณภาพแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 และ ประการที่สาม สร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างในการหาคุณภาพของแบบวัด จำนวน 300 คน และกลุ่มตัวอย่างเพื่อสร้างเกณฑ์ปกติ จำนวน 400 คน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบ เลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 45 ข้อ โดยวัดใน 3 ด้าน คือ ด้านการคิดวิเคราะห์ความสำคัญจำนวน 15 ข้อ ด้านการคิดวิเคราะห์ ความสัมพันธ์จำนวน 15 ข้อ และด้านการคิดวิเคราะห์หลักการจำนวน 15 ข้อ เป็นแบบวัดที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยพิจารณา จากค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่าตั้งแต่ 0.60-1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ 0.23-0.47 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.03- 0.49 และค่า ความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.83

2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์อยู่ระหว่าง T27-T80 โดยนักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในระดับปานกลางถึงระดับดี คิดเป็นร้อยละ 42.50

คำสำคัญ : การคิดวิเคราะห์, การเรียนรู้ภาษาไทย

 

ABSTRACT

This research aimed to: 1) construct a test for assessing grade 4th students’ critical thinking abilities in the Thai language learning strand; 2) find the qualities of the constructed test; and 3) establish the norm criterion of the test for assessing grade 4th students’ critical thinking abilities. The sample group used for studying qualities of the test consisted of 300 grade 4th students, while the sample group for establishing the norm criterion comprised 400 students of the same level, studying in the schools under Kalasin Office of Primary Education Area 2 in the first semester of the academic year 2010.

The findings of the study are as follows:

1. The test for assessing grade 4th students’ critical thinking abilities constructed by the researcher was 45-item, four- multiple-choice constructed test for assessing students’ critical thinking abilities in 3 aspects: 15 items for assessing significance analysis, 15 items for assessing relation analysis, and 15 items for assessing principle analysis. The test is valid in terms of its content validity as determined by considering its index of congruence (IOC) of 0.60-1.00, level of difficulty (p) of 0.23-0.47, discrimination power (r) of 0.03- 0.49, and the test reliability of 0.83.

2. The critical thinking abilities of grade 4thstudents of Kalasin Office of Primary Education Area 2 were within the range of T27-T80, with the majority of the students having critical thinking abilities ranging from moderate to good levels, which were 42.50 %.

Keywords : Test, Critical Thinking, Thai Language Learning

Article Details

บท
บทความวิจัย