การศึกษาระดับปฏิบัติด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3

Main Article Content

พิกุล ปัทมาตร
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ
ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาระดับปฏิบัติด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 มีวัตถุประสงค์การวิจัย ประการแรก เพื่อศึกษาระดับปฏิบัติด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประการ ที่สอง เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และประธานคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประการที่สาม ศึกษาข้อเสนอแนะที่เป็นแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 324 คน จากโรงเรียน 108 แห่ง ในปีการศึกษา 2554 และกลุ่มผู้ร่วมวิจัยโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) จำนวน 9 คน จากโรงเรียนบ้านเชียงยืน บ้านจานโนนสูง และบ้านวังยาววิทยายน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาระดับปฏิบัติด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05

3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะที่เป็นแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 1) ด้าน การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ ผู้บริหารให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ และต้องทุ่มเท เสียสละเวลา ความ รู้ ความคิดเพื่อพัฒนาองค์กร 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้บริหารมีการกำหนดเป้าหมายของหน่วยงานที่ชัดเจน กระตุ้นให้ผู้ร่วม งานทำงานอย่างเต็มที่ และแนะนำวิธีการทำงานแบบใหม่ ๆ 3) ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา การบริหารงานของผู้บริหารเมื่อมีปัญหา ต้องแจ้งให้บุคลากรทราบ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น เพื่อลดความขัด แย้งและความมีอคติ และ 4) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารสนับสนุนด้านต่าง ๆ ให้ความเสมอภาค ทุกคนมีส่วน ร่วม ครูได้รับการแนะนำให้ศึกษาต่อเพื่อพัฒนาตนเอง โรงเรียนส่งเข้ารับการอบรมและมีการติดตาม ประเมินผลให้รางวัล

คำสำคัญ : การศึกษาระดับปฏิบัติ, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

 

ABSTRACT

This research aimed to: 1) study practice levels of transformational leadership of primary school administrators; 2) compared levels of opinions of primary school administrators, school teacher representatives as basic education committees, and chairpersons of basic education committees; and 3) study suggestions for the guidelines for developing transformational leadership of primary school administrators. The target group of this research consisted of primary school administrators, school teacher representatives as basic education committee, and chairpersons of basic education committee (324 persons in total) from 108 schools in the academic year 2011. Nine teachers from Ban Chiangyuen School, Ban Jannonsoong School and Ban Wongyaw-wittayayon School were in focus group conversation. The instruments used for data collection were a questionnaire and a focus group report. The statistics for data analyses were percentage, mean, standard deviation, and F-test .

The results of the research were as follows:

1. The transformational leadership of primary school administrators under Office of Maha Sarakham Primary Education Service Area 3, as a whole and in each aspect, was at a high level.

2. A comparison of the target groups’ opinions on transformational leadership of primary school administrators, school teacher representatives as basic education committees, and chairpersons of basic education committee in aspect of transformational leadership of primary school administrators reveal that inspiration and intellectual stimulation were at the .05 level of significance.

3. Suggestions as the guidelines for developing transformational leadership of primary school administrators were found in four aspects as follows:

3.1 In aspect of idealistic influence, every stakeholder should be invited to determine vision; devote time, knowledge and idea for developing the organization.

3.2 In aspect of inspiration stimulation, the school target must be set clearly, the teachers must be stimulated to work hard and suggested ways of new working methods.

3.3 In aspect of intellectual stimulation, when encountering problems, every personnel should be informed to know ways of solving the problems, given opportunities to participate and allowed them to express the opinion to reduce conflicts and bias.

3.4 In aspect of individual, everyone should be supported to participate in school activities, teachers should be allowed to further the study and training. School should follow their development, evaluate and give them reward.

Keywords : Practice Levels, Transformational Leadership

Article Details

บท
บทความวิจัย