การพัฒนาแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA

Main Article Content

จารุวรรณ คำบุญเรือง
นิรุต ถึงนาค
ชมพูนุท เมฆเมืองทอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA (Directed reading-thinking activity) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/ E2 = 80/80 ประการที่สอง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ ประการที่สาม เพื่อ ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการพัฒนาทักษะ การอ่านจับใจความสำคัญด้วยการสอนอ่าน กลุ่มเป้าหมาย การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเขวา “รัฐประชาวิทยากร” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 1 จำนวน 11 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One group pretest-posttest design เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วย การสอนอ่าน จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน 35 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนจำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ด้วยการสอนอ่านแบบ DR-TA มีค่าเท่ากับ E1/E2 = 87.79/93.77 สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ E1/E2 = 80/80

2. ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การสอนอ่านแบบ DR-TA หลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการสอนอ่านจับใจความสำคัญ โดยการสอนอ่าน DR-TA โดยรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : การสอนอ่านแบบ DR-TA, การอ่านจับใจความสำคัญ

 

ABSTRACT

The purposes of this study were to: 1) develop lesson plans for grade 4th students through the DRTA (Directed Reading-Thinking Activity) instruction with the efficiency value (E1/E2 ) of 80/80; 2) compare the students’ learning achievement in Thai reading comprehension before and after learning through the DRTA instruction; and 3) study the students’ satisfaction after learning through the DR-TA instruction. The target group of the research consisted of 11 grade 4th students at Bankhow Rathprachavitthayakhon School under Office of Maha Sarakham Primary Education Area 1. The one group pretest and posttest design was used in the study. The instruments used for data collection included 7 lesson plans on Thai reading comprehension for grade 4th students through the DR-TA instruction, a 35-item achievement test, and a 15-item questionnaire on satisfaction towards the DR-TA instruction. The statistics used for data analyses were percentage, mean, and standard deviation. Dependent sample t-test was used for testing the research hypothesis.

The research findings were as follows:

1. The efficiency of the lesson plans on Thai reading comprehension for grade 4th students through the DR-TA instruction (E1/E2 ) was 87.79/93.77, which was higher than the required criteria of 80/80.

2. The students’ learning achievements on Thai reading comprehension after learning through the DR-TA instruction was higher than before learning at the .01 level of significance.

3. The students’ satisfaction after learning through the DR-TA instruction for Thai reading comprehension was at a high level.

Keywords : DR-TA (Directed Reading-Thinking Activity), Reading Comprehension

Article Details

บท
บทความวิจัย