การบริหารเชิงดุลยภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ชมพูนุท หิริโกกุล
จำเนียร พลหาญ
สุทัศน์ แก้วคำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาระดับการบริหารเชิงดุลยภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ ประการที่สอง เปรียบเทียบการบริหารเชิงดุลภาพของสถานศึกษา ตามความ คิดเห็นในแต่ละสถานภาพ และขนาดของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด กาฬสินธุ์ และ ประการที่สาม ศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และกรรมการ สถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 433 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 เป็นแบบสอบถาม จำนวน 44 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติเอฟ (F-test) และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่กรณีพบความแตกต่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารเชิงดุลยภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด กาฬสินธุ์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านประสิทธิผลองค์กร ด้านการเรียนรู้และการเติบโตภายในองค์กร ด้านคุณภาพ การให้บริการ และด้านประสิทธิภาพองค์กร

2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารเชิงดุลยภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดสถาน ศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ ควรมีการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่จัดทำไว้ ส่งเสริมให้ครูได้รับการอบรมหรือศึกษา ต่อในระดับที่สูงขึ้น นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการทำงาน องค์กรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายให้มีการวางแผนการดำเนิน งานและนำผลการประเมินไปพัฒนาหน่วยงาน

คำสำคัญ : การบริหาร, การบริหารเชิงดุลยภาพ

 

ABSTRACT

This research aimed to survey the level of the administration by using the balanced scorecard model in the educational institutes under the Office of Non-Formal and Informal Education in Kalasin Province , to comparethe administration by using the balanced scorecard model regarding the status of the respondents and size of the schools and to find some useful suggestions for educational development. The samples were four hundred and thirty three persons consisting of school administrators, teachers, and education committee members. They were selected by the stratified random sampling technique. The instrument used in phase1 was a questionnaire containing 44 items with .66-1 IOC indices and .89 reliability index. The statistics employed for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The employed F-test was used for hypothesis testing, and a paired test of Scheffe’s method was used for difference testing. The instrument of phase 2 was an in-depth interview form. The content analysis method was employed for data analysis.

The results were as follows:

1. The finding showed that the average level of the administration by using the balanced scorecard model in the educational institutes under the Office of Non-Formal and Informal Education in Kalasin Province was high. The high-level administration was the aspect of organizational effectiveness; the aspect of learning and growth of the organization; the aspect of service quality; and the aspect of organizational efficiency respectively.

2. The finding indicated that the administration by using the balanced scorecard model in the educational institutes under the Office of Non-Formal and Informal Education in Kalasin Province regarding the status of the respondents and size of the educational institutions was significantly different at the .05 level.

3. In regard to the suggestions they are concluded that the administration should be followed accordance with the operation plan. The teachers should be provided the opportunity for further study. The modern technology should be used for the administration. The organization should offer the opportunity to school networks to participate in educational planning and management. The results of evaluation should be used for the organizational development.

Keywords : Administration, Balanced Scorecard Model

Article Details

บท
บทความวิจัย