ผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการพัฒนาจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

จินตนา พบบุญ
จตุพร เพ็งชัย
ยุพาศรี ไพรวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนาความมีจิตสาธารณะของนักเรียนได้ และเหมาะที่จะใช้ในการพัฒนา ตัวบุคคลและกลุ่ม เป็นการเรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติ สามารถช่วยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เกิดการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง ตนเอง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตสาธารณะ และเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองกา“ประชารัฐพิทยา” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุรินทร์ เขต 2 ปีการศึกษา 2555 ที่มีคะแนนจากการตอบแบบประเมินจิตสาธารณะตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมาจำนวน 6 คน ซึ่งได้ มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงและสมัครใจที่จะพัฒนาตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 4 ชนิดได้แก่ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อ พัฒนาจิตสาธารณะ จำนวน 10 ครั้ง แบบประเมินจิตสาธารณะที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .32 ถึง .76 มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมทั้งฉบับ เท่ากับ .94 แบบสังเกตเกี่ยวกบั พฤตกิ รรมจติ สาธารณะ ประเมินกอ่ นและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาจิต สาธารณะ แบบสังเกต 3 มิติประกอบด้วย ผู้ปกครอง ครูผู้ช่วยวิจัยและเพื่อน และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิลคอกสัน (The wilcoxon’s matched pairs signed-ranks test) และบรรยายพฤติกรรมก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อ พัฒนาจิตสาธารณะผลการวิจัยพบว่า

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์, จิตสาธารณะ

 

ABSTRACT

The management of group dynamics was a method that could help in developing public mind, both in individuals as well as in groups of people. It was in the format of learning by doing which could help in creating changes and self-improvement in the participants in group dynamics. This research was a quasiexperimental research.

The objective of this study was to study and compare Pratomsuksa 5 students’ public mind before and after participating in group dynamics for developing public mind. The samples were 6 Pratomsuksa 5 students in Bannongka “Pracharatpittaya” School, under the Office of Surin Primary Educational Service Area 2, 2012 school year, who obtained score from responding to the Public Mind Inventory at the percentile 25 and lower. They were selected by using the purposive sampling technique and they volunteered to participate for their self-development. The 4 instruments used in this study consisted of 1) 10 sessions of the group dynamics for developing public mind, 2) the Public Mind Evaluation Form with item discrimination level from .32 to .76, and reliability level of .94, 3) the Public Mind Behavioral Observation Form used before and after participating in group dynamics for developing public mind, and 4) the Triangulation Observation Form and the Interview Form used with teachers, research assistant teachers, and friends. The statistic used for data analysis was The Wilcoxon’s Matched Pairs Signed-Ranks Test. The behaviors before and after participating in group dynamics for developing public mind were explained.

The research found that after participating in group dynamics for developing public mind, Pratomsuksa 5 Students significantly obtained higher score in both overall and each aspect (p < .05).

Keywords : Group Dynamics, Public Mind

Article Details

บท
บทความวิจัย