การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ มุมความรู้ตลาดทุน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; Evaluation of the SET Corner Learning Activities Organized by the Office of Academic Resource Services and Information Technology,Rajabhat Maha

Main Article Content

สุวรรณ อภัยวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกิจกรรมการเรียนรู้มุมความรู้ตลาดทุนสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ มุมความรู้ตลาดทุน สำนักวิทยบริการ
และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษามหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคามทุกชั้นปีที่ลงทะเบียนเรียนและจากการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลเป็นแบบทดสอบ แบบสอบถาม และแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติคำนวณ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ผลประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ มุมความรู้ตลาดทุนทั้ง
3 กิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า
1. การฝึกอบรมเรื่อง การวางแผนและใช้เงินอย่างชาญฉลาด พบว่า คะแนนการทดสอบก่อนฝึกอบรมมีความสัมพันธ์คล้อยตาม
กันกับคะแนนทดสอบหลังฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมต่อเนื้อหาและต่อ
วิทยากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า รายการที่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ ความรู้ที่ได้รับ สามารถ
นำไปประยุกต์ใช้ได้ เหตุผลที่ผู้รับการอบรมเข้าร่วมอบรมมากที่สุดคือ การนำความรู้ไปใช้ในการวางแผนการใช้จ่ายเงิน และมีข้อเสนอแนะ
ว่า ทำให้เกิดการออมที่ดีขึ้นในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งมีการบอกวิธีการออมที่ดีต่อ ๆ กันด้วย ควรจัดให้มีการให้ความรู้ด้านการออม
และการวางแผนการเงินขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดเป็นอุปนิสัย ทั้งนี้ควรจัดให้มีการฝึกอบรมดังกล่าวแล้วให้นักศึกษากลุ่มอื่น ๆ
2. การอบรมทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย พบว่า ทักษะจากการทำบัญชี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการทำบัญชีอยู่ในระดับมากทุกรายการและมีข้อเสนอแนะว่า ควรทำบัญชีทุกวันอย่างต่อเนื่อง ควรสอน
หรืออบรมให้นักศึกษาทำบัญชีจนเป็นพื้นฐานของการวางแผนทางการเงิน ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษารู้จักใช้เงินอย่างเป็นระบบ
นอกจากนี้อาจารย์ควรแนะนำส่งเสริมให้นักศึกษาทุกคนรู้จักการทำบัญชี
3. การสืบค้นจากเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ผู้เข้าอบรมทุกคนได้เข้าใช้เว็บไซต์โดย
มีความถี่ในการเข้าใช้มากที่สุดคือ 4-6 วันต่อครั้ง เหตุผลที่เข้าไปใช้เว็บไซต์มากที่สุดคือ ทราบหลักวิธีการออม รองลงมาคือ ต้องการ
แก้ไขปัญหาด้านการเงิน และน้อยที่สุดคือ ต้องการแก้ไขปัญหาครอบครัว ในด้านการนำความรู้จากเว็บไซต์ไปใช้มากที่สุด คือ ใช้
วางแผนการเงิน รองลงมาคือ หาความรู้เพิ่มเติม และน้อยที่สุดคือ แนะนำบุคคลอื่นให้เข้าใช้ เนื้อหาของเว็บไซต์ที่น่าสนใจคือ ทุกคน
ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนด้านทักษะสืบค้นจากเว็บไซต์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า รายการที่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง คือ มีจำนวนเงินเก็บสะสม และมีข้อเสนอแนะว่า ควรมี
การพัฒนาออกแบบเว็บไซต์ให้น่าสนใจมากขึ้น และควรเพิ่มเนื้อหาสาระให้หลากหลายมากขึ้น

This research aimed to evaluate the SET corner learning activities organized by the Office of Academic
Resource Services and Information Technology, Rajabhat Maha Sarakham University; and to study
participants’ satisfaction with the SET corner learning activities. Samples for this study were 40 students
who enrolled and applied to participate in this SET corner learning activity on every level of Rajabhat Maha
Sarakham University. The instruments used to collect data were a test paper, a questionnaire, and a survey
paper. The statistics used for analyzing data was percentage, mean, standard deviation and simple correlation
coefficient.
Results of the evaluation of the three SET corner learning activities were as follows:
1. Regarding smart planning and spending money training, it was found that there was a significant
correlation between the pre-test scores and the post-test, at the .05 level. The participants’ overall satisfaction
with the contents and guest speakers was rated at a high level. Considering in each aspect, the samples’
satisfaction was rated at the highest level. They could apply the acquired knowledge. Their reasons for
participating in the activities were to apply the knowledge in money spending that was rated at the highest
level: that is, applying their knowledge in making spending plans. The samples suggested that there should
be better daily savings and dissemination of savings techniques. They also suggested that there should be
more training that encourages habitual savings, and these activities should be organized for other groups
as well.
2. On training accounts of income and expenses, it was found that the participants accounting skill
was at a high level overall. Considering in each aspect, it was found that accounting skills in specific areas
showed a high level in every aspect. The daily accounts should be provided regularly; students should learn
how to spend money systematically. Besides, teachers should teach accounting.
3. Regarding retrieval through the website of the Office of Academic Resource Services and Information
Technology, it was found that the participants who most visit the website did so once in 4-6 days. Their
reasons for using the website were to know the principles of savings and to solve financial problems while
to solve family problems was rated lowest. The areas of knowledge from the website that was most applied
were financial planning and seeking additional knowledge; while advising others was rated lowest. According
to them, the website contents were interesting, increased their knowledge and could be applied in the future.
The participants’ overall skill in searching the websites was found at the high level. When specific areas were
analyzed, the study showed that total savings was rated as moderate satisfaction. However, they suggested
that the website should be better designed and developed to be more interesting and there should be a
greater variety of content areas.

Article Details

บท
บทความวิจัย