ลักษณะการทำงานเป็นทีมประกันคุณภาพภายในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2; Quality Assurance Team Work Characteristic in the Educational Opportunity Expansion
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการทำงานเป็นทีมประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการ
ศึกษา ตลอดทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต
2 กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วย ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จำนวน 47 คน ผู้แทนครู จำนวน 47 คน กรรมการและเลขานุการ จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน
ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยใช้สถิติ F-test (One-way ANOVA)และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มแบบรายคู่ โดยวิธี
การของ Scheffe’ ผลการวิจัยพบว่า
1. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อลักษณะการทำงานเป็นทีมประกันคุณภาพภายในโรงเรียนขยายโอกาส
ทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียง
ลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ และ ด้านการไว้วางใจ
ซึ่งกันและกัน ตามลำดับ
2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นต่อลักษณะการทำงานเป็นทีมประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวมด้านการมีปฏิสัมพันธ์ ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกัน ด้าน
การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน และด้านการมีเป้าหมายร่วมกันชัดเจนไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการสื่อสารอย่างเปิดเผย มีความคิด
เห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกรรมการและเลขานุการมีความคิดเห็นสูงกว่าประธานกรรมการ และผู้แทนครู
3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้เสนอแนะแนวทางในการทำงานเป็นทีมประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนขยาย
โอกาสทางการศึกษา เรียงลำดับตามความถี่จากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรกคือ ควรเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อส่วนรวมให้มากขึ้น
รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย ตามลำดับ
The research aimed to study and compare the quality assurance teamwork characteristic in the different
status of the Educational Opportunity Expansion Schools based upon the Basic Education Committee, Kalasin
Educational Service Area Office 2. The samples of the research, selected through purposive sampling,
consisted of 141 committees from schools under Kalasin Primary Educational Service Office 2: 47 chairmen,
47 teacher representatives, and 47 committee and secretaries. The instrument used in the research was 30
items on five rating scale questionnaire. The statistics used for analyzing data was percentage, mean, standard
deviation, and F-test (One-way ANOVA)
The results of the research were as follows:
1. The overall opinion of Basic Education Committees’ satisfaction toward Quality Assurance teamwork
characteristic was at a high level. Considering each aspect, it was also rated at a high level difference from
the highest mean score to the lowest: acceptance and respecting each other, relationship, and trusting each
other, respectively.
2. The comparison of the different status of Basic Education Committees’ satisfaction towards the
quality assurance teamwork characteristic was not significantly different: relationships, activity participation,
trusting each other, acceptance and respecting each other, and participation of the same target. However,
undisguised communication aspect was significant difference at .05 level. The committee and secretaries’
satisfaction was shown as being higher than the chairmen and teacher representatives’ satisfaction mean
score.
3. The Basic Education Committee suggested that some guideline for QA teamwork ranged from the
highest to the lowest mean score: they should sacrifice themselves for the social work, the committee should
take some advice from the people who were related to the work, and everybody should have a chance to
participate in setting up reachable targets, respectively.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา